รู้ยัง "เยื่อไผ่" ไม่ใช่ไผ่แต่เป็นเห็ด ทำไมเรียกแบบนี้มีคำตอบ

07 ธันวาคม 2566

รู้กันยัง "เยื่อไผ่" จริงๆแล้วไม่ใช่ไผ่แต่มันคือเห็ดชนิดหนึ่งต่างหาก เผยที่มาชื่อเมนูอร่อยระดับเหลาของจีน

หลายๆคนคงเห็นและเคยได้กินเมนูจาก "เยื่อไผ่" วัตถุดิบแสนอร่อยที่นำมาทำเมนูได้หลากหลาย แต่รู้หรือไม่แม้จะได้ชื่อว่าเยื่อไผ่แต่ไม่ได้ทำมาจากต้นไผ่นะ จริงๆแล้วมันคือ "เห็ด" ชนิดหนึ่งต่างหาก เรียกอีกชื่อว่า "เห็ดร่างแห" แล้วที่มาของชื่อเยื่อไผ่มาจากไหน เรามีคำตอบ

 

รู้ยัง เยื่อไผ่ ไม่ใช่ไผ่แต่เป็นเห็ด ทำไมเรียกแบบนี้มีคำตอบ

รู้ยัง เยื่อไผ่ ไม่ใช่ไผ่แต่เป็นเห็ด ทำไมเรียกแบบนี้มีคำตอบ


เห็ดเยื่อไผ่หรือเห็ดร่างแห ข้อมูลจากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้คำตอบไว้อย่างกระจ่างแจ้งว่าเห็ดเยื่อไผ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเห็ดร่างแห ที่ได้ชื่อนี้เพราะมีลักษณะคล้ายร่างแห ตาข่าย มีก้านคล้ายฟองน้ำ

ลักษณะของเห็ดเยื่อไผ่ เมื่อยังอ่อนมีลักษณะก้อนกลมสีขาวคล้ายฟองไข่นก เมื่อโตขึ้นลำต้นและหมวกเห็ดจะยืดตัวแทรกออกจากเปลือก มักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวๆ และเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะเด่นคือหมวกเห็ดมีรูปร่างเหมือนตา ข่ายหรือแห 

เห็ดร่างแหมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษหลากหลายมาก โดยมีทั้ง Bamboo mushroom, Bamboo fungus, Long net stinkhorn หรือ Basket stinkhorn ซึ่งชื่อเหล่านี้ตั้งตามลักษณะเด่นที่เห็นได้ทั่วไป เช่น Bamboo mushroom ก็มาจากวิธีการเพาะเห็ดที่ต้องเพาะเห็ดบนเยื่อไม้ไผ่ หรืออาจจะมีที่มามาจากเราสามารถพบเห็นเห็ดร่างแหได้ในป่าไผ่ ส่วนชื่อเรียก Long net stinkhorn หรือ Basket stinkhorn มาจากส่วนของหมวกเห็ดที่มีรูปร่างคล้ายกระโปรงหรือตะกร้าที่สานกันเป็นร่างแห 

รู้ยัง เยื่อไผ่ ไม่ใช่ไผ่แต่เป็นเห็ด ทำไมเรียกแบบนี้มีคำตอบ

 

แม้เห็ดร่างแหจะมีหลายชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ คือ เห็ดร่างแหกระโปรงสั้นสีขาว และเห็ดร่างแหกระโปรงยาวสีขาว ส่วนชนิดอื่นๆมีพิษไม่สามารถกินได้ ทางที่ดีถ้าไปเจอตามธรรมชาติก็อย่าเสี่ยงเก็บมากินเองดีกว่า

เมนูจากเห็ดร่างแหหรือเยื่อไผ่ เอามาทำได้หลากหลายมากๆทั้งแกงจืดเยื่อไผ่ เยื่อไผ่น้ำแดง (ใส่เยื่อไผ่แทนกระเพาะปลา) หรือนำมาใส่ในผัดผัก เป็นอาหารระดับเหลาของคนจีนเลยทีเดียว

สรรพคุณและประโยชน์ของ "เยื่อไผ่" มีกรดอะมิโน 16 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิดที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการและยังมีโปรตีนมากกว่าเห็ดชนิดอื่นด้วย นอกจากนี้ทางจีนเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ไขมัน เบาหวาน ช่วยขับลมและบำรุงร่างกายด้วย