สวัสดีครับ Pet มีสาระ วันนี้เรามีคำถามเกี่ยวกับโรคสะบ้าเคลื่อนมาสอบถามคุณหมอเจต นายสัตวแพทย์กวีวัธน์ ธนพัตจรูญพงษ์ นายสัตวแพทย์ประจำกวีวัธน์เพ็ทคลินิก ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตของสุนัขว่าโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร และมีความรุนแรงมากแค่ไหน ซึ่งทางคุณหมอกวีวัธน์ได้ให้คำตอบกับทาง Pet ไว้ว่า
โรคสะบ้าเคลื่อนส่วนใหญ่จะเกิดในสุนัขเป็นหลัก เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ตัวของอาการก็คือตัวสะบ้าเคลื่อนเนี่ยคือตัวของความผิดปกติของตัวลูกสะบ้าที่มันอยู่ผิดตำแหน่ง ซึ่งปกติเนี่ยตัวของลูกบ้าจะเคลื่อนอยู่ในบริเวณของข้อเข่าเวลาที่สุนัขขยับขา ยืดขาหรือเหยียดขาเนี่ยตัวของลูกสะบ้าจะวิ่งขึ้นลง เนื่องจากตัวของลูกสะบ้าเนี่ยถูกยึดอยู่ในตำแหน่งของตัวเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ
ทีนี้เวลาที่มีการเคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งเดิมเนี่ยจะทำให้สุนัขมีอาการเจ็บขา ซึ่งอาการเนี่ยก็จะขึ้นกับระดับของความรุนแรงของตัวโรคสะบ้าเคลื่อนที่เป็น
ระดับความรุนแรงโดยปกติจะแบ่งเป็น 4 ระดับ เริ่มจากระดับ 1 ก็จะเป็นระดับที่เบาที่สุด จนไปถึงระดับ 4 ซึ่งอาการของโรคจะรุนแรง ระดับที่ 1 สุนัขส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการเจ็บขา แล้วก็ตัวของลูกสะบ้าโดยปกติยังอยู่ในร่องของข้อเข่าแต่เราจะสามารถดันออกได้ โดยส่วนใหญ่ระดับนี้สุนัขจะยังไม่ค่อยแสดงอาการเท่าไหร่ ก็คือเจ็บมานิด ๆ หน่อย ๆ สำหรับระดับที่ 2 ตัวของลูกสะบ้าจะสามารถดันออกไปอยู่ด้านนอกได้แล้วก็จะไปอยู่ค้างบริเวณด้านนอก ทำให้บางครั้งเนี่ยเหมือนเค้าเดินขัด ก็จะมีอาการยกขา เจ็บขาในบางจังหวะ ส่วนระดับที่ 3 ก็คือในตัวของลูกสะบ้าถูกดันออกไปอยู่ด้านนอกของร่องขาเข่าตลอดเวลา อันนี้สุนัขส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยสามารถที่จะลงขาหรือลงน้ำหนักได้เนื่องจากตัวของเส้นเอ็นที่ยึดรั้งเนี่ยมันดึงออกไปผิดตำแหน่ง เค้าก็จะแบบเหมือนแสดงอาการเจ็บขาตลอดเวลา แล้วก็ในส่วนของระดับสุดท้ายระดับที่ 4 สุนัขเนี่ยจะแสดงอาการเจ็บขาค่อนข้างเยอะเนื่องจากตัวของเอ่อ ตัวลูกสะบ้าเนี่ยจะอยู่ด้านนอกของร่องตลอดเวลาแบบถาวร
สำหรับตัววิธีการรักษาก็จะแบ่งเป็นการรักษาทางยา การรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับการรักษาทางยาเนี่ยส่วนใหญ่เราจะให้แค่ระดับต่ำ ๆ ก็คืออย่างเช่นระดับที่ 1 หรืออาจจะบวกลบระดับที่ 2 นิดหน่อยนะครับ โดยส่วนใหญ่เราก็จะใช้ร่วมกับการอาจจะเป็นกลุ่มของกายภาพบำบัด หรือการดูแลเพิ่มเติม อย่างเช่นการควบคุมน้ำหนัก แล้วก็ในส่วนของการผ่าตัดเอง ก็จะใช้ตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นการปรับตัวของร่องข้อเข่า ร่วมกับการอาจจะมีการเย็บยึดตัวของเส้นเอ็นที่มีการหย่อน ซึ่งทำให้ตัวของลูกสะบ้าเนี่ยออกจากตำแหน่งปกติไป ซึ่งหลังจากที่เราทำการผ่าตัดแล้วเนี่ย สุนัขบางตัวอาจจะสามารถใช้ขาได้เลยหลังจากที่ผ่าตัด แต่สุนัขบางตัวเนี่ยอาจจะยังไมค่อยลงขาหรือว่ายังดูเหมือนเจ็บ ๆ ขาอยู่ต้องมีการกายภาพบำบัดร่วมด้วยเพื่อให้สุนัขสามารถกลับมาใช้ขาได้เป็นปกติ
สำหรับการป้องกันโดยหลักๆจะเน้นในส่วนของกิจกรรมที่ทำให้เกิดการลงน้ำหนักที่บริเวณ 2 ขาหลัง อาจจะต้องเลี่ยงหน่อยนะครับ เพราะว่ากิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักที่ 2 ขาหลังเยอะ ๆ จะส่งผลให้ มีการเกิดโรคได้มากขึ้น อย่างเช่นอาการที่น้องหมาบางตัวเนี่ย ชอบยืน 2 ขาหลัง ยืน 2 ขาบ่อยๆ หรือว่าการกระโดดขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่ง แล้วก็การควบคุมน้ำหนักอันนี้ก็เป็นสาเหตุสำคัญเหมือนกัน เพราะว่าโดยส่วนใหญ่น้องหมาที่ตัวของเค้าค่อนข้างอ้วน แล้วขาเค้าเล็กมันก็จะมีผลทำให้ตัวน้ำหนักเนี่ยมันถ่ายไปที่ขาได้เยอะ แล้วขาก็อาจจะรับน้ำหนักไม่ค่อยไหว ทำให้มีการบิดของมุมขาไป ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากขึ้น แล้วก็อันสุดท้ายเนี่ยจะแนะนำว่า ถ้าลูกสุนัขตั้งแต่อายุซัก 6 เดือนขึ้นไปจะแนะนำให้พาไปตรวจเช็กสุขภาพ อาจจะไปตรวจพร้อมกับการฉีดวัคซีนประจำปีหรือว่าระหว่างที่บูสต์วัคซีนเนี่ยก็สามารถตรวจได้ เพราะว่ายิ่งถ้าเราสามารถแก้ไขได้ไวเนี่ยมีโอกาสที่จะไม่กลับมาเป็นซ้ำได้ในที่สุด