คณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (IVPP) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ค้นพบรอยเท้าหน้า (manus tracks) จำนวน 57 รอย และรอยเท้าหลัง (pes tracks) จำนวน 57 รอย บนพื้นที่เพียง 0.3 ตารางเมตร ในเขตอูเอ่อร์เหอของแอ่งจุ่นก๋าเอ่อร์ ตั้งแต่ปี 2006
หลังจากคณะนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาลักษณะเด่นอย่างความยาวของรอยเท้า พบว่ารอยเท้าดังกล่าวแตกต่างจากรอยเท้าของไดโนเสาร์เทอโรซอร์อันเป็นที่รู้จัก 15 สายพันธุ์ จึงเสนอให้กำหนดไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ชื่อ “เทอไรชนัส อูเอ่อร์โฮเอ็นซิส” (Pteraichnus wuerhoensis) ที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น
อนึ่ง การศึกษานี้ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อต้นเดือนมิถุนายนในวารสารนานาชาติเพียร์เจ (PeerJ)
หลี่หยาง หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่ารอยเท้าหลากหลายขนาดเหล่านี้ชี้ว่าไดโนเสาร์เจ้าของรอยเท้ามีอายุแตกต่างกันและเป็นหลักฐานว่าเทอโรซอร์อาศัยอยู่เป็นกลุ่ม
“ภูมิภาคอูเอ่อร์เหอในตอนนั้นเต็มไปด้วยทะเลสาบขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะดึงดูดไดโดโนเสาร์กลุ่มนี้มาหาอาหารและทิ้งรอยเท้าไว้” หลี่กล่าว
ขอบคุณ ซินหัวไทย