27 ก.ย.64 พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น รองผบช.ก. พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ ผบก.รฟ. พ.ต.อ.วริศร์สิริภ์ สีละสิริ รอง ผบก.อก.บช.ก. ปฏิบัติราชการ บก.รฟ. นำกำลังชุดสืบสวน บก.รฟ. และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งบช.ก.ที่ที่ 152/2564 ปูพรมค้น 7 จุดในกทม.และต่างจังหวัด ซึ่งเป็นจุดที่มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริตลงทะเบียนวัคซีน
สำหรับการปิดล้อมตรวจค้นครั้งนี้ เป็นการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าว หลังก่อนหน้านี้ช่วงปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พบความผิดปกติในระยะที่เริ่มปรับให้มีการวอล์กอินลงทะเบียนหน้าศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ โดยตรวจสอบ พบรายชื่อบุคคลที่มีการลงทะเบียนนอกเวลาทำการ (หลังเวลา 20.00 น.) จำวนมากผิดปกติ อีกทั้งพบว่ามีการนำข้อมูลรายชื่อบุคคลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ นอกเวลาทำการประมาณวันละ 1 พันคน
จนกระทั่งช่วงวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีคนจำนวนมายืนรอกันที่บริเวณประตู 4 และพบตัวเลขผู้ลงทะเบียนมา 2,000 คน ทั้งที่ตัวเลขนัดหมายมีฉีดวัคซีนของกระทรวงการต่างประเทศแค่ 384 คน เท่านั้น และเมื่อตรวจสอบพบว่า มีการเรียกเก็บค่าหัวคิวซื้อโควต้าฉีดวัคซีน หัวละ 400-1,200 บาท รวมเป็นเงิน 120,000-360,000 บาท เป็นเหตุให้นางศิริลักษณ์ อุบลเหนือ รองผู้อำนวยการศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ได้มาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจรถไฟนพวงศ์ ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเข้าไปแก้ไขข้อมูลการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด-19 โดยมิชอบ เพื่อเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนที่มีความประสงค์รับวัคซีน โควิด-19 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ
ต่อมาพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. สั่งการให้พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. ระดมชุดทำงานคลี่คลาย ก่อนรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้อง 7 ราย ในฐานความผิดร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ,ร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน
โดยร่วมกันกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ , ร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยร่วมกันกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ,ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกง”
จากนั้นรายงานข่าวแจ้งว่า ในเวลา 10.00 น.ที่ บริเวณประตู 1 ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก และชุดทำงานจะแถลงข่าวความคืบหน้า"การจับกุมผู้ที่ทุจริตการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ"ต่อไป
ต่อมาเวลา 11.30 น. ที่ บริเวณประตู 1 ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น รองผบช.ก. พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ ผบก.รฟ. พล.ต.ต.วิวัฒน์ คําชํานาญ ผบก.ประจำบช.ก. พ.ต.อ.วริศร์สิริภ์ สีละสิริ รอง ผบก.อก.บช.ก. ปฏิบัติราชการ บก.รฟ. พ.ต.อ.ณัฐพล เกิดเอี่ยม ผกก.4 บก.รฟ.คุมตัว น.ส.ภคมน หอมภักดิ์ และ นายวิชญพงศ์ ธีรอังคณานนท์ 2สามีภรรยามาเพื่อชี้จุดเกิดเหตุ หลังช่วงเช้าได้นำกำลังจับกุมได้ที่ห้อง310 อพาท์เม้นท์แห่งหนึ่ง ในซ.รัชดาภิเษก 3 แยก 18 โดยก่อนการนำตัวมาชี้จุดเจ้าหน้าที่ได้นำทั้งสองคนตรวจโควิดเบื้องต้นด้วย
โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ให้น.ส.ภคมน สาธิตการลงทะเบียนที่เค้าท์เตอร์เบอร์ 41และเบอร์ 42 ภายในประตู 4 โดยนำบัตรประชาชนของสื่อมวลชนมากรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนของแผนประทุษกรรม ทั้งนี้น.ส.ภคมน ได้ ยืนยันว่าการกระทำไม่ได้เป็นการตัดโควตาของประชาชนทั่วไป ในแต่ละวันผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือจะมีโควต้าในการใช้ลงทะเบียน ตนจึงใช้ตรงจุดนั้นในการลงทะเบียน รอที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางในการกระจายวัคซีนทำให้ปริมาณวัคซีนในแต่ละวันมีจำนวนเพียงพอที่จะเพิ่มจำนวนตามความต้องการของตนเอง
โดยเริ่มแรกเป็นการลงทะเบียนให้กับคนรู้จักเพื่อที่อยากจะช่วยให้ได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว จากนั้นก็มีคนมาติดต่อให้ตนลงทะเบียนการฉีดวัคซีนให้กับคนอื่น โดยให้ค่าจ้างหัวละ 200-300 บาท ก่อนที่คนที่มาจ้างตนจะนำไปบวกค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก อย่างน้อย 3 ทอด มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงสุดถึง 1,000 บาทต่อคน ซึ่งในส่วนของตนเองตลอดเวลาที่ทำการทุจริตได้เงินไปประมาณ 3-4 ล้านบาท ส่วนเงินที่ได้นำไปใช้จ่ายหนี้สินที่เกิดจากช่วงภาวะการระบาดของเชื้อโควิด 19 เนื่องจากว่ารายได้ที่ได้จากการทำงานสุจริตได้เพียงวันละ 500 บาทเท่านั้น
ภายหลังการชี้จุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ ผบก.รฟ. นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และพญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ร่วมกันแถลงข่าวผลการติดตามจับกุม โดยนายอนุทิน กล่าวยืนยันว่า การฉีดวัคซีนจากหน่วยงานของรัฐ รวมถึงที่ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ ไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าวัคซีน และ ค่าดำเนินการใดๆ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ ทั้งนี้ในส่วนของการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดต้องขอบคุณทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่พบเห็นความผิดปกติของตัวเลขผู้ลงทะเบียน จนนำมาสู่การดำเนินการ อีกทั้งขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สามารถจับกุมผู้ต้องหามาดำเนินคดี
ทั้งนี้รายงานข่าวยังแจ้งอีกว่า ปฎิบัติการทลายเครือข่ายขบวนการสวมสิทธิ์วัคซีน ทางบช.ก. ได้มีการสอบปากคำผู้เสียหายกว่า 200 ปาก ก่อนขอศาลออกหมายจับผู้ต้องหา 7 ราย ประกอบไปด้วย น.ส.ภคมน หอมภักดิ์,นายวิชญพงศ์ ธีรอังคณานนท์,ซึ่งเป็นหัวโจกในการกระทำความผิด ส่วนนางสุรีนาฎ ปัทมวิชัยพร,นายจุมพล ศรียาภัย,นางสาวบัณฑิตา รุ่งสว่าง,นางสาวกรรติมา ยางทอง, นายหทัยชนก บริรักษ์ เป็นผู้รับโอนเงิน โดยขณะนี้สามารถจับกุมได้ 6 รายในพื้นที่ย่านดินแดงกทม.,จ.ราชบุรี และหาดใหญ่จ.สงขลา เหลือเพียงนางสาวบัณฑิตา รุ่งสว่าง ที่จะขอติดต่อมอบตัวภายหลัง อย่างไรก็ตามจนถึงนี้พบยอดโอนที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของขบวนการนี้กว่า 7 ล้านบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews