"โควิด"กลายเป็น"โรคประจำถิ่น" คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะ "แผนโควิด 4 ระยะ"

09 มีนาคม 2565

"โควิด19"เข้าสู่โรคประจำถิ่น คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะเเล้ว แผนโควิด 4 ระยะ จากโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น 1 ก.ค.นี้


   อัพเดทล่าสุด สถานการณ์โควิดประเทศไทย 9มี.ค.65 คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการ "โควิด19"เข้าสู่โรคประจำถิ่น (Endemic approach) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ (4 เดือน) หรือเรียกว่า 3 บวก 1 ดังนี้

ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.65) เรียกว่า Combatting เป็นระยะต่อสู้ ต้องกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงกว่านี้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง โดยจะมีมาตรการต่างๆ ออกไป 

\"โควิด\"กลายเป็น\"โรคประจำถิ่น\" คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะ \"แผนโควิด 4 ระยะ\"
ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.65) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อย


ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.65) เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000 - 2,000พันราย 

\"โควิด\"กลายเป็น\"โรคประจำถิ่น\" คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะ \"แผนโควิด 4 ระยะ\"
ระยะ 4 (บวก 1) ตั้งแต่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาดเข้าสู่โรคประจำถิ่น

สำหรับการควบคุมอัตราการเสียชีวิตเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นนั้น ต้องไม่เกิน 1 ใน 1,000 ราย โดยปัจจุบันไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดเฉลี่ย 0.19% จนถึง 0.2%  แต่ถ้าเข้าสู่โรคประจำถิ่น จะต้องมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 0.1%  ซึ่งยังไม่สามารถลดให้ถึงเป้าที่กำหนดได้ เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม 608  

\"โควิด\"กลายเป็น\"โรคประจำถิ่น\" คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะ \"แผนโควิด 4 ระยะ\"
ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โรคโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป