คืบหน้าคดีทอง "แม่ตั๊ก - ป๋าเบียร์" ล่าสุดนายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา แถลงความคืบหน้าคดีร้านทองแม่ตั๊ก กรกนก สุวรรณบุตร และ นายกานต์พล เรื่องอร่าม หรือ ป๋าเบียร์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หลังจากเก็บตัวอย่าง ซึ่งเป็นของกลางจากร้านทอง บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ในวันที่ 24 กันยายน 2567
โดยเก็บมาทั้งหมด 6 ตัวอย่าง ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการทดสอบ 2 วิธี วิธีแรกคือการเอ็กซเรย์ และวิธีที่สองคือการเผา/หลอม ซึ่งสรุปได้ว่าตัวอย่างทองที่เก็บมาทั้งหมดนั้นเป็นทองแท้ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์
เปิดผลตรวจทองร้าน "แม่ตั๊ก - ป๋าเบียร์" ทั้งหมด 6 ตัวอย่าง ดังนี้
1. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงใหญ่)น้ำหนัก 1.89 กรัม จำนวน 2 ตัวอย่าง ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 97.55 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการหลอมอยู่ที่ 92.78 เปอร์เซ็นต์
2. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงเล็ก) น้ำหนัก 1.9 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 96.00 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการหลอมอยู่ที่ 94.44 เปอร์เซ็นต์
3. ทองรูปพรรณประเภทกำไลข้อมือ (ปี่เซียะ) จำนวน 8 ตัว น้ำหนัก 4.96 กรัม ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์
4. ทองรูปพรรณประเภทกำไลข้อมือ (ตราไข่) น้ำหนัก 0.77 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์
5. ทองรูปพรรณประเภท ลูกปัด จำนวนแปดเม็ด น้ำหนัก 1.19 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 71.15 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการหลอมอยู่ที่ 61.45 เปอร์เซ็นต์
6. ทองรูปพรรณประเภทจี้ (ปี่เซียะ) น้ำหนัก 11.13 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอ็กซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ จากการหลอมอยู่ที่ 99.95 เปอร์เซ็นต์
ส่วนจะเข้าข่ายผิดตามพรบ.คุ้มครองผู้บริโภคหรือไม่ นั้น นายเลิศศักดิ์ ระบุว่า ซึ่งเบื้องมีความผิดกรณีฉลากไม่ตรงปก ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบว่ามีการขอทำธุรกิจตลาดแบบตรงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และรวมถึงการขายทางออนไลน์ และประเด็นว่าการไลฟ์สดขายสินค้ามีการใช่ถ้อยคำโฆษณาเกินจริงหรือไม่
ซึ่งหลังจากนี้ก็จะตรวจสอบที่มาของทอง ว่ามีการไปรับซื้อมาจากที่ไหน โดยเป็นการทำงานของทางบก.ปคบ. จะบูรณาการร่วมกันกับ ปปง. นอกจากนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ก็จะรวบรวมรายชื่อ ของผู้เสียหาย ส่งให้กับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อพิจารณาว่าจะรับผิดชอบผู้เสียหาย และเยียวยาได้อย่างไร และหากผู้เสียหายที่มีการนำทองไปคืนก็ยังสามารถดำเนินคดีได้เนื่องจากความผิดอาญาและแพ่งต่างกัน
ส่วนเรื่องเซตของแถม ที่ทางแม่ตั๊กและป๋าเบียร์อ้างว่าเป็นทองคำ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ทาง สคบ. กำลังขอตัวอย่างจากผู้บริโภคเพื่อเก็บตัวอย่างนี้มาเป็นหลักฐานในการตรวจสอบ หากครบถ้วนและเพียงพอในการตรวจสอบ ก็จะส่งให้สถาบันวิจัยอัญมณีแห่งชาติตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากนี้ทาง สคบ. จะมีการตั้งชุดคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบพ่อค้าแม่ค้าที่ไลฟ์ขายสดในออนไลน์ ว่ามีการขายสินค้าประเภทใด และจะเข้าข่ายสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภคหรือไม่ ก็จะมีการดำเนินการในส่วนนี้เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ซ้ำกับเหตุการณ์นี้ต่อไป ในอนาคต