กรมอุตุฯ แจงแล้ว หลังสะพัดข่าวเตือน "ทอร์นาโดระดับ4" เตรียมถล่มไทย

04 พฤศจิกายน 2567

กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงความจริงแล้ว หลังว่อนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องจะเกิดทอร์นาโด ระดับ 4 ในพื้นที่ แปดริ้ว กรุงเทพ และปริมณฑล  

กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกมาชี้แจงแล้ว กรณีมีการเผยแพร่ข่าวเรื่องพายุทอร์นาโดระดับ 4 ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่แปดริ้ว กรุงเทพ และปริมณฑล  โดยกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบข้อมูล ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา  

กรมอุตุฯ แจงแล้ว หลังสะพัดข่าวเตือน "ทอร์นาโดระดับ4" เตรียมถล่มไทย

 พยากรณ์ในช่วงวันที่ 1-6 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง

โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางและตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนกลางถึงตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง

และในช่วงวันที่ 31 ต.ค. – 2 พ.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 3-6 พ.ย. 67 บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรมอุตุฯ แจงแล้ว หลังสะพัดข่าวเตือน "ทอร์นาโดระดับ4" เตรียมถล่มไทย
 

วิธีตรวจสอบข่าวสาร 

ตรวจสอบแหล่งที่มา: ข่าวสารที่เชื่อถือได้มักจะมีแหล่งที่มาที่ชัดเจน เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ หรือสื่อมวลชนที่น่าเชื่อถือ

ตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่ง: ก่อนที่จะเชื่อข่าวใดๆ ควรตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อเปรียบเทียบ

ระวังข่าวที่เกินจริง: ข่าวที่เกินจริงหรือมีการใช้คำที่น่าตกใจมักจะเป็นข่าวปลอม

หากต้องการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศ ควรติดตามจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น:

กรมอุตุนิยมวิทยา: เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพยากรณ์อากาศอย่างเป็นทางการ

สื่อมวลชนหลัก: สื่อมวลชนที่น่าเชื่อถือจะนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ขอบคุณ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม