วิศวกรชี้ เหล็กที่ใช้สร้างอาคาร สตง.เป็นเหล็กชนิดไหน ถึงกับตกใจ

วิศวกรชี้ เหล็กที่ใช้สร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นเหล็กชนิดไหน ถึงกับตกใจรู้ ขนาดวิศวกรด้วยกันยังเอ่ยปาก
กรณีอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างพังถล่มลงมา เนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งค้นหาร่างของคนงานที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารอย่างเต็มกำลัง พร้อมกันนี้ยังเกิดคำถามจากสังคมเกี่ยวกับสาเหตุของการพังถล่ม ว่าเริ่มต้นจากจุดใด และวัสดุที่ใช้ก่อสร้างได้มาตรฐานหรือไม่
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นวิศวกรจิตอาสา มีความรู้ด้านเหล็ก ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างเหล็กของอาคาร สตง. ที่พังถล่ม โดยระบุว่าสอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่า อาคารแห่งนี้ใช้เหล็ก DB. 32 SD.50 ซึ่งเป็นเหล็กที่มีปัญหา จากประสบการณ์ทำงานโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน เหล็กชนิดนี้มักมีค่าผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ (Lab Test) ที่แสดงค่า Yield ต่ำ แม้ว่าค่า Strength จะผ่านเกณฑ์มากกว่า 5,000 kg/cm² แต่กลับมีปัญหาด้านความยืดหยุ่นและการดัดโค้ง โดยเหล็กมีลักษณะเป็นสองชั้น แข็งด้านนอกแต่อ่อนด้านใน ส่งผลให้เมื่อถูกบิดไปมาจะเกิดการปริแตกและร้าวลึกเข้าไปถึงหน้าตัด ส่งผลให้ค่าความแข็งแรง (Strength) ลดลงทันที ทำให้เหล็กประเภทนี้ไม่เหมาะกับอาคารสูงที่ต้องเผชิญกับการขยับตัวจากแรงภายนอก
นอกจากนี้ วิศวกรรายดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า เหล็กเส้นที่พบในพื้นที่ก่อสร้างของอาคาร สตง. มาจากโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน มอก. อย่างไรก็ตาม มีเหล็กบางยี่ห้อที่เป็นเหล็กรีไซเคิล และมีการเติมธาตุเพื่อเพิ่มความแข็งและความเหนียว ซึ่งต้องตรวจสอบผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการมาตรฐาน (Lab Test) ของแต่ละชุดการผลิต (Heat No.) ขณะที่วัสดุถูกนำส่งมายังไซต์งาน มีการสุ่มตรวจสอบหรือไม่? และทางโรงงานผู้ผลิตมีการสุ่มทดสอบในทุกเตาหลอม รวมถึงยื่นผลการทดสอบจากสถาบันมาตรฐานให้หน่วยงาน มอก. ตรวจสอบก่อนจำหน่ายหรือไม่?
หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก

อุ๊ย "อิงฟ้า วราหะ" ไม่ขอทน โพสต์เดือดจัด ชาวเน็ตแห่เดา หมายถึงใคร

"คลองไส้ไก่" เกษตรอัจฉริยะ เลี้ยงปลา ปลูกพืช สร้างรายได้หลายทาง

"ท้องผูกในคนสูงวัย" แก้ง่ายนิดเดียว หมอเจดเผยเอง ไม่ต้องพึ่งยา

เผยสาเหตุ บริษัทค้าทองดัง ปิดบริการชั่วคราว หลังลูกค้าร้องเรียน
