ไทม์ไลน์ "เนสท์เล่-มหากิจศิริ" จากเพื่อนรัก 3 ทศวรรษ สู่จุดแตกหัก

เรื่องราวความสัมพันธ์ของสองตระกูลธุรกิจ "เนสท์เล่" และ "มหากิจศิริ" ที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ กลับต้องมาถึงจุดแตกหัก เมื่อความขัดแย้งทางธุรกิจที่ซับซ้อน
เจาะไทม์ไลน์ เนสท์เล่-มหากิจศิริ จากเพื่อนรัก 3 ทศวรรษ สู่จุดแตกหักนำไปสู่การฟ้องร้องทางกฎหมายที่สร้างความสั่นสะเทือนในแวดวงธุรกิจไทย ไทม์ไลน์นี้จะพาไปเจาะลึกถึงเส้นทางความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย และจุดพลิกผันที่นำไปสู่การยุติความร่วมมือในครั้งนี้
จากรณีข้อพิพาทระหว่าง “เนสท์เล่”(Nestlé) บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่สุดในโลก กับ “ตระกูลมหากิจศิริ” ที่ฝ่ายหนึ่งได้มีการ “แจ้งยุติสัญญา” ที่ให้สิทธิ บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด(QCP) ในการผลิต "เนสกาแฟ"ในปี พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ การยุติสัญญามีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายโดยคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการสากล โดยมีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ทว่า หลังจากนั้น นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในบริษัท QCP ได้ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว “ห้ามมิให้เนสท์เล่ ผลิตว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปโดยใช้เครื่องหมายการค้า Nescafé” ในประเทศไทย
Nescafé แบรนด์โลกเกิดเพื่อแก้ผลผลิตกาแฟในบราซิล
เนสท์เล่ เป็นยักษ์ใหญ่อาหารและเครื่องดื่มโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอกว่า 2,000 แบรนด์ และสินค้าตลาดกว่า 180 ประเทศทั่วโลก
ระดับโลก เนสท์เล่ ทำธุรกิจกว่า 150 ปี ส่วน “ไทย” ยาวนานไม่แพ้กัน เพราะเป็นองค์กรร้อยปี ด้วยตำนานกว่า 130 ปี
หนึ่งในแบรนด์ใหญ่ของเนสท์เล่ คือ “Nescafé” หรือ เนสกาแฟ เรื่องราวของแบรนด์ เกิดขึ้นเมื่อปี 1929 หรือ 96 ปีก่อน เมื่อ Louis Dapples ประธานคณะกรรมการบริหารของเนสท์เล่ ได้รับคำขอพิเศษจากประเทศบราซิล ให้หาวิธีรับมือกับกาแฟจำนวนมหาศาลในประเทศ โดยเสนอให้เนสท์เล่คิดค้นผลิตภัณฑ์กาแฟที่สามารถชงดื่มได้รวดเร็ว
กาแฟแท็บเล็ตทรงลูกบาศก์ ที่เพียงมีน้ำร้อน ก็ชงกาแฟได้ทันที แต่ไม่สามารถรักษารสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ได้ จึงไม่สามารถใช้ได้จริง ต้องคิดใหม่ กระทั่งการวิจัยพัฒนาอย่างยาวนาน 7 ปี จนนำไปสู่การ “เปิดตัวกาแฟผงสำเร็จรูป” ในสวิตเซอร์แลนด์ กับแบรนด์ “NESCAFÉ®” ในปี 1938 และขายหมดภายในเวลาเพียง 2 เดือน
เนสท์เล่-มหากิจศิริ พันธมิตรผลิต “เนสกาแฟ” 3 ทศวรรษในไทย
“เนสท์เล่” นำผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จแบรนด์ “เนสกาแฟ” เข้ามาทำตลาดในไทยเป็นเวลา 52 ปีแล้ว และสร้างการรับรู้แบรนด์คู่กับ “เรดคัพ” หรือเนสกาแฟในแก้วสีแดงพร้อมอัตลักษณ์ความหอมกรุ่นเจาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย การทำตลาดต่อเนื่อง ยังทำให้เนสกาแฟเป็นแบรนด์กาแฟอันดับ 1 ในประเทศไทย
ขณะที่ความสัมพันธ์ หรือพันธมิตรธุรกิจของ “เนสท์เล่” กับตระกูล “มหากิจศิริ” เกิดขึ้นเมื่อปี 2533 เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วมหัวจมท้ายดำเนินธุรกิจผลิตกาแฟ “เนสกาแฟ” ในประเทศไทย ผ่าน บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด(QCP) ซึ่งเนสท์เล่ ถือหุ้น 50% และมหากิจศิริถือหุ้น 50% โดยมี “ประยุทธ มหากิจศิริ” เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น
ล่าสุด ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส มีผู้ถือหุ้นอันดับ 1 คือ “เฉลิมชัย มหากิจศิริ” ถือหุ้นใน ถือหุ้น 41.80% ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 คือ เนสท์เล่ เอส.เอ สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ ถือหุ้น 30.00%
เมื่อเนสท์เล่ ได้แจ้งยุติสัญญาที่ให้สิทธิ บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด ในการผลิตเนสกาแฟในปี พ.ศ. 2564 รวมถึงมีการร้องต่อกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ “ศาลอนุญาโตตุลาการสากล” ในการระงับข้อพิพาท ซึ่งคำตัดสินทำให้การยุติสัญญามีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย โดยการเลิกสัญญามีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2567
หลังจากนั้นช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน ปี พ.ศ. 2568 “เฉลิมชัย มหากิจศิริ” ได้ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทในเครือเนสท์เล่และกรรมการ จำนวน 2 คดี
วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568 ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว “ห้ามมิให้เนสท์เล่” ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เนสกาแฟแต่เพียงผู้เดียว
ดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป โดยใช้เครื่องหมายการค้า Nescafé ในประเทศไทย
ปิดฉากการเป็น “พันธมิตร” และยังแปรเปลี่ยนเป็น “คู่ขัดแย้งทางธุรกิจ” มีคดีความ
ประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าพ่อเนสกาแฟ
จากปี 2533-2567 คือความสัมพันธ์ของ เนสท์เล่ และ “มหากิจศิริ” ยิ่งกว่านั้น ตลอดเส้นทางธุรกิจของเนสกาแฟในประเทศไทย ภายใต้ ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส ทำให้ชื่อของ “ประยุทธ มหากิจศิริ” หลายเป็น “เจ้าพ่อเนสกาแฟ” กลบชื่อ “เนสท์เล่” เจ้าของแบรนด์ตัวจริง
สำหรับความมั่งคั่งของ ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุรายได้ของ ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส ดังนี้
- ปี 2565 มีรายได้รวมกว่า 1.71 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.28% “กำไรสุทธิ” กว่า 3,067 ล้านบาท ลดลง 9.84%
- ปี 2565 มีรายได้กว่า 1.71 หมื่นล้านบาท เติบโต 10.69% มี “กำไรสุทธิ” กว่า 3,400 ล้านบาท ลดลง 8.14%
- ปี 2564 มีรายได้กว่า 1.54 หมื่นล้านบาท ลดลง 2% มี “กำไรสุทธิ” กว่า 3,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.58%
สำหรับตลาดกาแฟในประเทศไทยเป็นอีกหมวดที่ใหญ่ โดยภาพรวมตลาดกาแฟทุกประเภท ประเมินตัวเลขระดับ 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นตลาดกาแฟในบ้านราว 3.3 หมื่นล้านบาท(กาแฟปรุงสำเร็จ ทรีอินวัน) และตลาดกาแฟนอกบ้าน 2.7 หมื่นล้านบาท( Euromonitor) แยกย่อยตลาดกาแฟพร้อมดื่มมูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท (ปี 2566 : Tetra Pak Compass) คนไทยบริโภคกาแฟเฉลี่ย 340 แก้วต่อคนต่อปี (ที่มา : เนสท์เล่) กาแฟสดกว่า 5,000 ล้านบาท เป็นต้น โดยตลาดกาแฟในบ้าน และกาแฟพร้อมดื่ม เป็นสิ่งที่ "เนสกาแฟ" ของเนสท์เล่ กำลังเผชิญวิบากกรรม
แถลงการณ์ ‘เนสท์เล่’ ออกแถลงการณ์ หลังศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามผลิต-ว่าจ้างผลิต-จำหน่าย และนำเข้า ผลิตภัณฑ์แบรนด์ ‘เนสกาแฟ’ ในประเทศไทย
เนสท์เล่ ห่วงใยผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกรไทย และคู่ค้าซัพพลายเออร์ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลคุ้มครองชั่วคราว ในการห้ามผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์แบรนด์ Nescafé ในประเทศไทย
เนสท์เล่ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เนสกาแฟ ได้ยุติสัญญากับบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนแบบ 50/50 ระหว่างเนสท์เล่ และตระกูลมหากิจศิริ ซึ่งมีคุณประยุทธ มหากิจศิริ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น โดย ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ได้ผลิตในประเทศไทย ผ่านบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด (QCP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 จนถึง พ.ศ.2567 การยุติสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายโดยคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการสากล โดยมีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2567 ภายใต้สัญญาการร่วมทุนนี้ เนสท์เล่ มีอำนาจในการบริหารงาน การผลิต การจัดจำหน่าย รวมทั้งการทำการตลาดผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเนสกาแฟนั้นเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเนสท์เล่
ภายหลังการยุติสัญญา ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทั้งสองฝ่าย ไม่สามารถตกลงเรื่องการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน ปี พ.ศ. 2568 นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ได้ฟ้องร้องต่อศาลแพ่งมีนบุรี เพื่อดำเนินคดีแพ่งกับบริษัทในเครือเนสท์เล่ และกรรมการ และเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568 ศาลแพ่งมีนบุรี ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้เนสท์เล่ ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์เนสกาแฟแต่เพียงผู้เดียว ดำเนินการผลิต ว่าจ้างผลิต จำหน่าย และนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป โดยใช้เครื่องหมายการค้า Nescafé ในประเทศไทย โดยที่เนสท์เล่ยังไม่มีโอกาสเสนอข้อเท็จจริงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งดังกล่าว แต่เนสท์เล่ก็ให้ความเคารพต่อกฎหมายและได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฉบับนี้
โดยเนสท์เล่ได้ออกหนังสือแจ้งลูกค้า อันได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2568 ให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และแจ้งว่าบริษัทฯ จะไม่สามารถรับคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจากร้านค้าเหล่านี้ได้ โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้จนกว่าจะมีการแจ้งให้ทราบภายหลัง ในช่วงเวลาระหว่างนี้ ร้านค้าปลีกที่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟอยู่ในร้าน ยังสามารถจำหน่ายได้ตามปกติ
เนสท์เล่ มีความกังวลอย่างยิ่งถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นจากคำสั่งศาลนี้ ซึ่งจะส่งผลในการสูญเสียรายได้ของผู้ประกอบการรายย่อย รวมทั้งร้านกาแฟขนาดเล็ก รถเข็นขายกาแฟที่จะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟจำหน่าย และการปรับเปลี่ยนสูตรการชงและวัตถุดิบที่ใช้ ยังอาจส่งผลต่อรสชาติที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ประจำวันของผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ อีกทั้งยังส่งผลต่อการขาดรายได้ของพนักงานของลูกค้าและคู่ค้าซัพพลายเออร์ในห่วงโซ่ของเนสกาแฟที่เคยสามารถจัดส่งวัตถุดิบต่างๆ ให้กับเนสกาแฟแต่ต้องหยุดชะงักลง รวมไปถึงเกษตรกรไทยผู้เพาะปลูกกาแฟและเกษตรกรโคนมไทย จะไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตเพื่อเป็นวัตดุดิบให้เนสกาแฟ เนื่องจากคำสั่งศาลห้ามผลิต และว่าจ้างผลิต เนสกาแฟในประเทศไทย ในทุกๆ ปี เนสกาแฟรับซื้อเมล็ดกาแฟดิบพันธุ์โรบัสต้าในปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกได้ประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้บริโภคจำนวนหลายล้านคนในประเทศไทย และผู้บริโภคในตลาดส่งออกของเนสกาแฟจะไม่มีผลิตภัณฑ์เนสกาแฟดื่ม
เนสท์เล่ จะดำเนินการอย่างเต็มที่ในการแก้ไขสถานการณ์นี้ และกำลังดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้าน เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวต่อศาล พร้อมยื่นข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ศาลแพ่งมีนบุรีเพื่อการพิจารณาคำร้อง
ทั้งนี้ เนสท์เล่ มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างยั่งยืน เนสท์เล่จำหน่ายผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่าง ๆ ในประเทศไทยมานานกว่า 130 ปีแล้ว และได้ลงทุนกว่า 22,800 ล้านบาทในประเทศไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2567 โดยเนสท์เล่ยังคงเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภค พนักงานของเรา เกษตรกรที่ทำงานร่วมกับเรา ตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจ และคู่ค้าของเรา
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

ผลหวย ธ.ก.ส.16/4/68 ตรวจสลาก ธ.ก.ส. สลากออมทรัพย์ งวด 16 เมษายน 2568

"หมอไวท์" เคาะแล้ว ราศีพ้นเคราะห์ เงินดี มีโชคลาภหลังสงกรานต์

"พาณิชย์" แนะไทยลุยตลาดผู้สูงอายุไต้หวัน ชี้เป้าขายอาหาร บริการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

"มุก วรนิษฐ์" เพื่อนณิชา โพสต์ถึง "โตโน่" หลังฟังคำพูดบนเวที
