13 ธ.ค.66 งาน “SUSTAINABILITY FORUM 2024” ในหัวข้อ "Sustainable Urbanization : Better Cities and Communities" ทาง นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เล็งสร้างทางด่วนเพิ่มอีกกว่า 200 กม. ในเวลาอีก10ปีต่อจากนี้ พร้อมทั้งระบบควบคุมการเข้า-ออกทางอัตโนมัติ อาทิเช่น M-Flow ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้
โดย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กทพ. ได้ให้บริการมากว่า 50 ปี เปิดบริการระยะทาง 280 กิโลเมตร (กม.) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4 แสนตัน ในขณะที่มีการปลดปล่อยเพียง 6 หมื่นตัน ถือว่าช่วยลดคาร์บอนได้มากกว่า 7 เท่า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการถือว่ามาถูกทางแล้ว เมืองขยายตัวตามถนน ด้วยถนนของกรุงเทพฯ ต้องมีสถานีรถไฟฟ้าเยอะ ไม่ใช่ satellite town ทำให้การเดินทางช้า รถไฟฟ้าวิ่งได้ไม่เร็วอย่างที่คิด เพราะอาจจะต้องจอดบ่อยในแต่ละสถานี ที่ห่างกันแค่ 1กม. ประชาชนในกรุงเทพ จึงไม่นิยมมาอยู่ในเมือง และย้ายไปอยู่ชานเมือง ทำให้การเดินทางเข้าเมืองเกิดปัญหารถติด สิ่งที่บริษัทฯ ทำได้ คือ การขยายเครือข่ายออกไปนอกเมือง
ด้านยุทธศาสตร์ 10 ปี การทางพิเศษ คือ จะสร้างทางด่วนเพิ่มอีก 200 กิโลเมตร โดยปีหน้าจะขยายทางด่วนจตุโชติ ข้ามไปย่านลำลูกกา ย่านหทัยราษฎร์ถือว่ามีจำนวนประชาชนอยู่มาก และเชื่อม ถนนพระราม 3 ไปสู่ถนนพระราม 2
ดังนั้น สิ่งที่บริษัทฯ ดำเนินการจะช่วยทำให้โลกเดือดและพังช้าลง แม้คนมองว่าการสร้างถนนจะเพิ่มรถให้วิ่งมากขึ้น ต้องเข้าใจว่ารถเครื่องสันดาปเมื่อจอดนิ่งจะผลิตคาร์บอนมากกว่ารถที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ