เจาะแนวคิด "รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ" คันแรกของไทย

18 กุมภาพันธ์ 2567

เปิดตัวไปเเล้ว "รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ" คันแรกของไทย วิ่งให้บริการฟรี ใช้งานผ่านแอปฯ รอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดย กสทช.ให้ทุน มจธ. 27 ล้าน ทำวิจัยร่วมกับ TKC - เจ็นเซิฟ พัฒนา 2 ปีสำเร็จ หวังให้เป็นต้นแบบช่วยกระตุ้นยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับในอนาคต

     รายการชุมชนยั่งยืน ได้ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับอาจารย์ต้น รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนมจธ.  ซึ่งเป็นคนคิดโครงการนี้ขึ้นมา

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย

     อาจารย์ต้น ได้เล่าให้เราฟังว่า รถคันนี้เป็นการออกแบบให้สามารถเป็นรถที่มีการขับเคลื่อนระดับอัตโนมัติ ระดับสาม มีการเชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบ 5G  จุดเด่นในโครงการนี้ก็คือ เป็นการพัฒนารถต้นแบบขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัทเอกชน เช่น บริษัท TKC, บริษัท GENSURV แล้วก็มีเอกชนอีกหลาย ๆ บริษัทที่เข้ามาร่วม

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย

     ปัจจุบันมีการนำร่องวิ่งในพื้นที่ตัวรอบบึงพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมืออย่างดีจากเทศบาลพระนครศรีอยุธยา เเละทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการนำร่องเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสได้ทดลองใช้รถบัสไฟฟ้าคันนี้ รวมทั้งเป็นการทดลองระบบไปด้วยในตัว

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย

ประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม "รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ"

     สำหรับตัวรถบัสคันนี้ เป็นรถบัสไฟฟ้า คือรถโดยสารไฟฟ้าเป็นรถที่เรียกว่าเป็น commercial เป็นรถเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการขายอยู่แล้วในปัจจุบัน แน่นอนรถไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษ อยู่เดิมเเล้ว โดยรถบัสคันนี้มีการพัฒนาระบบเสริมขึ้นมา เพื่อให้วิ่งอัตโนมัติได้  จึงเรียกได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่กำลังเป็นที่นิยม

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย

ปัจจุบันทดลองให้บริการ รอบบึงพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา 

     เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2567  ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2567  ให้บริการ วันศุกร์ - วันอังคาร ( ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร หยุดให้บริการ วันพุธเเละพฤหัสบดี) 

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย

จุดเด่น "รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ" 

  • มี Lidar ทั้งหมด 6 ตัว เเบ่งเป็น ด้านหน้า 2 ตัว ด้านข้าง 2 ตัว ด้านบนด้านหน้า 1 ตัว  เเละด้านบนด้านหลัง 1 ตัว
  • เรดาร์ ทำหน้าที่เหมือนตา เพิ่มศักยภาพในการมองเห็นเพิ่มขึ้น 
  • การควบคุม คือ ตัวขับเคลื่อนพวงมาลัย แล้วก็คันเร่ง แล้วก็เบรก เราเรียกว่าเป็นระบบ drive by wire ตัวระบบ drive by wire ตัวนี้ก็จะสามารถทำให้เราควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • โดยรถคันนี้ระบบขับเคลื่อนระดับ 3 สามารถควบคุมทางไฟฟ้าได้ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยสามารถโปรแกรมให้เดินบนเส้นทางที่เรากำหนดได้ แล้วจากตัวอุปกรณ์ตรงนี้ บวกกับตัว drive by wire บวกกับการทำแผนที่ไว้ในการวิ่งรอบบึงพระรามล่วงหน้า ก็จะสามารถทำให้เราควบคุมการเดินรถได้
  • แต่ในขณะเดียวกันเวลาเราวิ่งรถไปจริง ๆ มันไม่ใช่ถนนโล่ง ๆ  มันก็มีรถคันหน้ามีอะไร เมื่อเกิดเจอรถคันหน้าแล้วมันก็ต้องมีการแซง เราก็จะมีเขียนโปรแกรมในการแซง สมมุติว่าแซงไปแล้ว แซงผ่านไปแล้ว เกิดคันหน้าเบรก เราก็มีโปรแกรมที่บอกว่าต้องหยุดนะ เพราะคันหน้ามีความเร็วที่ต่ำเกินไปเพื่อความปลอดภัย แล้วถ้าเกิดว่ารถวิ่งไปเราก็มีการควบคุมความเร็วไว้ เพราะว่าเนื่องจากแถวบริเวณบึงพระรามมันก็เป็นพื้นที่ชุมชน
  • ความเร็วเราก็ไม่เกินให้สูงมาก ประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าไม่มีรถ จาก 10 ก็เร่งไปถึง 25 ได้อะไรอย่างนี้ ก็มีการชะลอความเร็วเมื่อรถคันหน้าชะลออะไรอย่างนี้ เป็นต้น ก็พูดง่าย ๆ คือทำหน้าที่เหมือนการขับรถของเราทั้งหมดเลย ก็เป็นตัวเรื่องของการควบคุม เพราะฉะนั้น จึงมีการเขียนซอฟต์แวร์ให้สามารถทำงานตรงนี้ได้

ถึงแม้ว่าจะขับอัตโนมัติ แต่ยังต้องมีคนขับนั่งอยู่

     ตามระบบอัตโนมัติมีทั้งหมด 5 ระดับ

  • ระดับที่ 0 เนี่ยคือไม่มีเลย
  • ระดับที่ 1 วิธีคิดง่าย ๆ เนี่ยก็เป็นเหมือน foot off ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง
  • ระดับที่ 2 เหมือน hand off ไม่ต้องมีคนจับพวงมาลัย ระดับที่ 3 คือ eye off ตาไม่ต้องทำงานแล้ว
  • ระดับที่ 3 ก็คือถ้าเรามีตา เรารู้พื้นที่ เพราะเรามีแผนที่ แล้วก็มีคันเร่ง มีพวงมาลัยได้
  • ระดับที่ 4 เนี่ยมันจะเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด คือคนก็ยังนั่งอยู่แต่คนไม่ต้องทำหน้าที่อะไรแล้ว
  • ระดับที่ 5 พวงมาลัยไม่มีแล้ว คนไม่มีแล้ว

รถคันนี้ระดับที่ 3 ยังต้องนั่งอยู่เพราะมันมีเงื่อนไขที่เรากำหนดว่าวิ่งรอบบึงพระราม แล้วเงื่อนไขนั้นเนื่องจากบางเงื่อนไขมันอาจจะเกิดเหตุที่เราไม่คาดคิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นคนยังต้องทำหน้าที่อยู่ เพราะตามกฎหมายความรับผิดชอบยังเป็นหน้าที่ของคนขับอยู่ เพราะฉะนั้นคนขับยังต้องคอย aware คอยต้องระมัดระวังว่าเนี่ยกำลังทำอะไรอยู่

ปัญหา อุปสรรค

     เป็นเรื่องของการจราจร การรักษาระเบียบ การเดินรถบริเวณนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถนนมันมีสองเลนส์ไป-กลับ การที่รถจอดบนถนนแบบจอดเลย ไม่ได้จอดเพื่อลงแล้ววิ่งต่อ จอดแบบนานเลย จอดเฉย ๆ เลยบนพื้นที่ห้ามจอด จริง ๆ โดยหลักการมันต้องวิ่งไปได้ ทีนี้สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือว่า เนื่องจากถนนมันเป็นถนนที่แคบ เขาก็ไม่ให้แซงด้วย ถ้าไปดูเนี่ยจะมีเส้นทึบ และโปรแกรมเราไม่ให้แซงเพราะเส้นมันเป็นเส้นทึบ เพราะฉะนั้น คนก็จะต้องทำหน้าที่ในการที่จะแซงออกไป ทีนี้ความท้าทายก็คือในอนาคตเนี่ยไม่มีคน เป็นระดับ 4 แล้วเราจะจัดการตรงนี้ยังไง มันเหมือนกับการที่เราบอกให้รถทำผิดกฎหมายหรือเปล่า เกิดไปเกิดอุบัติเหตุระหว่างแซง ในอนาคตความผิดอยู่ที่ใคร นี่คือเมื่อเป็นระดับ 4 แต่ว่าเป็นระดับ 3 เนี่ยมันทำได้ เพราะว่าคนยังต้องรับผิดชอบ ถ้าจริง ๆ ก็คือห้ามแซง แต่ว่าทำไงได้คันหน้ามันจอดอยู่ อันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งในหลายประเทศห้ามจอดคือห้ามจอด อันนี้ประเทศไทยมันห้ามจอดแต่ยังจอดได้อยู่ นั่นคือความท้าทาย

เเนวทางการขยายผล

     โครงการฯ พัฒนาต้นแบบ เนื่องจาก มจธ. ได้รับทุนจากทางกสทช. ซึ่งเเนวทางในการขยายผลหรือพัฒนาเพิ่มคาดว่าต้องมีการรือกันอีกครั้ง 

 

เจาะแนวคิด  \"รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับ\" คันแรกของไทย
      ดร.ภาณุภัทร์ ภู่เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคม บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้เล่าให้เราฟังว่า 
ในโครงการนี้ บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ของ TKC เราเองมีบทบาทในการทำระบบสื่อสาร 5G สำหรับตัวรถคันนี้ แล้วก็ตัว moblie application ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประชาชน นักท่องเที่ยว ที่จะติดต่อมายังรถบัส เพื่อจองในการขึ้นรถที่รอบบึงพระราม ตามจุดจอดต่าง ๆ ซึ่งเราก็มี QR CODE ให้ดาวน์โหลด สามารถดูได้ที่ตรงจุดจอดรถบัสที่แต่ละจุดที่รอบบึงพระราม ก็จะมี QR CODE ให้ดาวน์โหลดได้

สแกน QR CODE แล้วมันจะขึ้นมายังไงบ้าง

     เราก็จะติดตั้งแอป ก็จะมีให้ดาวน์โหลดทั้ง android แล้วก็ iOS เมื่อเข้าใช้แอปพลิเคชันก็จะสามารถลงทะเบียนก่อน แล้วก็สามารถที่จะกดขอขึ้นรถโดยสารได้ แต่ต้องอยู่ในระยะ 50 เมตรที่ห่างจากจุด 

 

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน

     หนึ่งก็คือนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นของระบบรถอัตโนมัติ แล้วก็ระบบการใช้งานเทคโนโลยี 5G แล้วก็ได้มีโอกาสใช้แอปพลิเคชัน แล้วก็เดินทางในรอบบึงพระราม ก็ไม่ต้องใช้รถของตัวเอง ซึ่งหาที่จอดยาก ก็สามารถโดยสารได้ฟรีบนรถบัสโดยสารอัตโนมัติคันนี้

ความรู้สึกหลังจากที่ทางรายการชุมชนยั่งยืนได้ทดลองใช้บริการ

     ต้องบอกว่างานนี้เราได้รู้แนวคิดและระบบระเบียบการใช้ไปแล้ว ถึงคราวที่เรานั้นต้องมารีวิวและบอกความรู้สึกกันบ้างว่าหลังจากที่ทดลองใช้แล้ว  ก็ต้องบอกว่าโอเคอยู่ แต่จะมีอุปสรรคในเรื่องการเบรคที่มีความแรงและกระชาก

     ส่วนเส้นทางการวิ่งนั้น รู้สึกว่ามันก็เหมาะสมกับสถานที่ เพราะเป็นเขตโบราณสถานด้วย เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งมีคนเยอะ แล้วก็ระยะการวิ่งของรถที่ค่อนข้างพอดี มันอาจจะทำให้เราได้เยี่ยมชมสถานที่ไปด้วย นั่งไปชมไป ค่อย ๆ ไปค่อย ๆ ชื่นชมสถานที่ ก็รู้สึกดีและปลอดภัยด้วย 

     ซึ่งอีกอย่างหนึ่งที่รู้สึกว่าประทับใจและเหมือนทึ่ง อย่างตัวขับเคลื่อนอัตโนมัติหลังจากที่ฟังอาจารย์พูด ปกติแล้วมันจะวิ่งในสถานที่ปิด แต่ว่าอันนี้ก็คือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยเลยเอามาวิ่งในสถานที่เปิด ก็คือมีนักท่องเที่ยวเลย ในเรื่องของความปลอดภัย ตัวรถก็คือทำมาอย่างดีเลย safety อย่างดีเลย นั่งแรก ๆ อาจจะมีจึ้ก ๆ บ้าง เพราะว่าด้วยระบบของการเบรก ระบบของ Lidar เรดาร์ของเขา ถ้าเกิดว่าเขาจับได้ว่ามีอะไรขวางหน้า เขาก็จะเบรกทันที แต่ว่าด้วยความปลอดภัยของเขาพอมันเป็นเลเวล 3 มันยังมีคนขับที่นั่งอยู่ด้านหลังอยู่ คอยที่จะคอนโทรลเพิ่มเติมในเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ ก็รู้สึกว่ามันก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ดีมาก เพราะตอนนี้เขาทดลองแล้วก็ให้นั่งฟรีด้วย

     ต้องบอกว่า ใครที่มาเที่ยวก็ลองมาทดลองนั่งด้วย เพราะว่าตอนนี้เขาวิ่งก็คือรอบ ๆ บึงพระรามเลย จะมี 4 จุดจอดด้วยกัน และตัวแอปพลิเคชันตอนนี้ก็คือ เดี๋ยวหลาย ๆ คนพอได้ดูวันนี้ก็น่าจะได้ใช้ตัวแอปพลิเคชันแล้ว ก็สามารถเรียกผ่านแอปได้เลย แต่ว่าต้องอยู่ในระยะทางที่ประมาณ 50 เมตร ทำไมถึง 50 เมตรเพราะว่า เขาบอกว่าเวลาที่เราเรียกเนี่ย 50 เมตรพอรถมาถึงเราจะได้มาทัน ก็คือมันดีเหมือนกันนะ เพราะปกติเราอาจจะเรียกในระยะไกลกว่านี้แต่บางทีเรามาไม่ทันเวลา วิ่งไม่ทัน แต่พอเป็น 50 เมตร เราก็แบบคอนเฟิร์มได้ว่าเรามาทันแน่นอน