"แอม ไซยาไนด์" โดนเพิ่มอีก 80 ข้อหา มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

06 มิถุนายน 2566

"แอม ไซยาไนด์" โดนเพิ่มอีก หลังตำรวจได้หลักฐานที่ชัดเจนแล้ว เตรียมแจ้ง 80 ข้อหา มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

"แอม ไซยาไนด์" โดนเพิ่มอีก 80 ข้อหา มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย : วันที่ 6 มิถุนายน 2566 มีรายงานคดี "แอม ไซยาไนด์" ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. เผยความคืบหน้าคดี แอม ไซยาไนด์ ว่าตอนนี้พบขวดไซยาไนด์แล้วที่แอมสั่งซื้อ โดยไล่จาก 700 ขวดจากโรงงานในล็อตเดียวกันจนเหลือ 8 ขวด ซึ่ง 1 ใน 8 คือขวดที่แอมสั่งซื้อ ซึ่งแอมสั่งซื้อผ่านเทรดเดอร์ ในเว็บออนไลน์ ไม่ได้ซื้อผ่านโรงงานโดยตรง นอกจากนี้ยังพบพยานหลักฐานอื่นๆ อีกที่ทำให้สำนวนชัดขึ้น 

 

แอมไซยาไนด์

ล่าสุดมีรายงานข่าวจากชุดคลี่คลายคดีว่า ตอนนี้ได้มีการรวบรวบหลักฐานจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการเงิน หรือผลทางนิติวิทยาศาสตร์ เข้ามารวมในสำนวน จนเริ่มมีความชัดเจนในทางคดีมากขึ้น  ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเตรียมแจ้งข้อหา "แอม" เพิ่มเติมคดีละ 3-5 ข้อหา รวมเกือบ 80 ข้อหา

 

โดยในเบื้องต้นตามหลักฐานที่ชัดเจนแล้ว จะทยอยแจ้ง 40 ข้อหาภายในสัปดาห์นี้  ส่วนที่เหลือยังรอหลักฐานในส่วนอื่นที่จะนำมาประกอบให้สมบูรณ์ก่อน จึงจะแจ้งในภายหลักอีก 40 ข้อหา  

 


ทั้งนี้ข้อหา "แอม ไซยาไนด์" เพิ่มเติมตามพฤติการณ์คดีทั้ง 15 คดี ที่ก่อเหตุ (ก่อนหน้านี้ถูกแจ้งข้อหา ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรอง , ปลอมเอกสาร) ตำรวจเตรียมแจ้งเพิ่ม เช่น

 

 

มาตรา 236 ผู้ใดปลอมปนอาหาร ยาหรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใด เพื่อบุคคลอื่นเสพหรือใช้ และการปลอมปนนั้น น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ หรือจำหน่าย หรือเสนอขาย สิ่งเช่นว่านั้นเพื่อบุคคลเสพหรือใช้ (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

 

มาตรา 289 (6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น (ต้องระวางโทษประหารชีวิต)

 

มาตรา 289 (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ (ต้องระวางโทษประหารชีวิต)

 


มาตรา 339  ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย (ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท) และความผิดตาม พรบ.วัตถุอันตราย 
 

แอมไซยาไนด์