สภา กทม. ไฟเขียวตั้งคกก.วิสามัญ เคลียร์หนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้าน

24 มกราคม 2567

สภา กทม. ไฟเขียว ตั้งคณะกรรมการวิสามัญ พิจารณาร่างข้อบัญญัติจ่ายขาดเงินสะสมกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เคลียร์หนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ขีดเส้นต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 45 วัน

 24ม.ค.67 จากการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 4) ประจำปีพุทธศักราช 2567  โดยมี นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม ซึ่ง  นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ...

สภา กทม. ไฟเขียวตั้งคกก.วิสามัญ เคลียร์หนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เปิดเผยว่า การประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 4) ประจำปีพุทธศักราช 2567 วันนี้ เบื้องต้นในที่ประชุมได้รายงานสถานะการเงินการคลังของกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 16 ม.ค. 67 ภาระหนี้ตามโครงการต่อเนื่องที่ได้ก่อหนี้ผูกพันแล้ว และเงินสะสมที่ปลอดภาระผูกพัน ณ วันที่ 16 ม.ค. 67 จำนวน 51,804.22 ล้านบาท 

สภา กทม. ไฟเขียวตั้งคกก.วิสามัญ เคลียร์หนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้าน

“ด้วยกรุงเทพมหานครต้องรับมอบทรัพย์สินระบบเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 และชำระค่างานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ตามโครงการดังกล่าว จึงเสนอสภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบจ่ายขาดเงินสะสม จำนวน 23,488,692,200 บาท” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว
 

 

 


สมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ร่วมอภิปรายในญัตตินี้ ประกอบด้วย นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง ,นายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย ,นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง ,นายสมชาย เต็มไพบูลย์กุล ส.ก.เขตคลองสาน และนายวิรัช คงคาเขตร ส.ก.เขตบางกอกใหญ่

สภา กทม. ไฟเขียวตั้งคกก.วิสามัญ เคลียร์หนี้ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้าน

ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบหลักการแห่งร่างข้อบัญญัติฯ และให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ... จำนวน 23 ท่าน กำหนดเวลาแปรญัตติ 3 วันทำการ และกฎหมายได้กำหนดไว้ให้คณะกรรมการวิสามัญฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติเป็นครั้งแรก