เรียกว่าตอนนี้กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก จากกรณี "กะทิ กะทิยา" ออกมาแฉประกันชีวิตชื่อดังโตเกียวมารีนประกันชีวิต ว่าเคลมค่ารักษาผ่าตัดไส้ติ่งไม่ได้ โดยเธอต้องนั้นสำรองเงินจ่ายไปเองก่อนกว่า 190,000 บาท ซึ่งทางประกันได้แจ้งกับเธอว่าต้องรอผลการตรวจสอบประวัติการรักษาว่ามีโรคร้ายแรงที่ผิดกับเงื่อนไขการเคลมประกันหรือไม่ ต่อมาทางประกันจึงได้ออกหนังสือชี้แจง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ประเด็นดราม่าดังกล่าวก็ได้จบลงเป็นที่เรียบร้อย เมื่อ กะทิ กะทิยา หรือ กะทิ หิ้วหวี ได้มาออกรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD ซึ่งมี ทิน โชคกมลกิจ เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีแขกรับเชิญท่านอื่นคือ ดร.สมโพชน์ เกียรติไกรวัล ประธานที่ปรึกษาสำนักกรรมการผู้จัดการและสายงานตัวแทน บมจ. โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) ที่เป็นคู่กรณี และ ดร.สมโพชน์ เกียรติไกรวัล ประธานที่ปรึกษาสำนักกรรมการผู้จัดการและสายงานตัวแทน บมจ. โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) มาร่วมพูดคุยกันในรายการ เพื่อเคลียร์ประเด็นทั้งหมด
ซึ่งประเด็นที่เกิดขึ้น ดร.สมโพชน์ เกียรติไกรวัล ประธานที่ปรึกษาสำนักกรรมการผู้จัดการและสายงานตัวแทน บมจ. โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย)ได้ชี้แจงว่าทางบริษัทไม่ได้ไม่ให้เคลม พร้อมจ่ายเคลมแน่นอนแต่ที่มีความล่าช้าเนื่องจากเรื่องอาการเท้าบวมของ กะทิ นั้นก่อนหน้านี้ทางประกันยังไม่ได้รับเอกสารยืนยันจากทางโรงพยาบาล ซึ่งถ้าพบว่าอาการเท้าบวมเกิดจากโรคประจำตัวร้ายแรงที่ปกปิดบริษัทจะเป็นการผิดเงื่อนไข ทำให้เป็นโมฆะ ทางบริษัทจะไม่สามารถจ่ายเงินเคลมให้ได้ แต่ถ้าหากไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรงก่อนมาทำประกัน ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินเคลมให้ตามที่ได้สำรองจ่ายไปก่อนหน้านี้ ซึ่งกรณีในเคสผ่าไส้ติ่งของกะทิ กะทิยาล่าสุดที่เป็นดราม่า ทางบริษัทเพิ่งได้รับข้อมูลประวัติการรักษาจากทางโรงพยาบาลเมื่อไม่นานนี้ และพบแล้วว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงที่ขัดเงื่อนไขของประกัน ยืนยันว่าทางบริษัทยินดีจ่ายเงินทั้งหมดให้กับกะทิ เป็นจำนวนเงิน 190,000 บาท ตามเงื่อนไข
ทางด้าน คุณคณานุสรณ์ เที่ยงตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ (คปภ.) ก็ได้กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า เงื่อนไขเรื่องห้ามมีโรคประจำตัวร้ายแรงในการขอประกันภัยนั้นเป็นเรื่องปกติของบริษัทประกันภัย เป็นกระบวนการคัดกรองผู้ทำประกันไม่ให้บริษัทเสียผลประโยชน์ ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบของบริษัทประกันภัยก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อน โดยถ้าหากอาการเท้าบวมไม่เกี่ยวกับโรคประจำตัวร้ายแรง ทางบริษัทก็จะจ่ายเงินให้ทั้งหมด 190,000 บาท ตามที่คุณกะทิได้สำรองจ่ายไปก่อนหน้าอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเคลมไม่ผ่านแล้วไม่มีเงินจ่ายจริง ๆ ก็จะต้องจัดการเรื่องหนี้สินกับโรงพยาบาลโดยไม่เกี่ยวกับทางบริษัทประกันภัย
คุณคณานุสรณ์ พูดอีกว่าหลักการของการประกันภัยจะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อกันระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย จะมีทั้งบอกล้างประกันได้และไม่ได้ ส่วนใหญ่ถ้าหากตรวจพบโรคประจำตัวร้ายแรงที่ผิดเงื่อนไขของประกัน โรคนั้นก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์นั้น
โดยหลังทางดร.สมโพชน์ ยืนยันแล้วว่าเคสของกะทิ ตรวจสอบแล้วว่าไม่ผิดเงื่อนไขและจะได้รับเงินเคลมประกัน 190,000 บาทแน่นอน กะทิ ก็ได้ขอบคุณและขอโทษกับทางโตเกียวมารีน เนื่องจากตนมีส่วนทำให้ทางบริษัทและตัวแทนเสื่อมเสียชื่อเสียง
ขอบคุณ รายการถกไม่เถียง