15 ม.ค.67 ซีพี ออลล์ และ เซเว่น อีเลฟเว่น จัดงาน "รำลึกพระคุณครู" พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์ "เชิดชูจิตวิญญาณความเป็นครู" เนื่องในวันครูแห่งชาติ ประจำปี 2567 สะท้อนวิถีของครูผู้สร้าง ทำมกลางความท้าทายในยุค Generative AI พร้อมจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ "อนาคตครูไทยในทศวรรษหน้า" จากวิทยากรมากประสบการณ์ในแวดวงการศึกษา หนุนการนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตช่วยพัฒนาการสอน พร้อมวิญญาณความเป็นครูที่เทคโนโลยีแทนไม่ได้ และนิทรรศการ "เชิดชูพระคุณครู" ที่รวบรวมเรื่องราวดีๆของครูผู้สร้างที่เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์
โดย นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ตระหนักและให้ความสำคัญกับ "ครู" มาโดยตลอด เพราะ ครู คือ ผู้สร้างอนาคตของชาติ พร้อมเชิญชวนให้คนไทยร่วมรำลึกถึงพระคุณครู ผ่านภาพยนตร์ส่งเสริมสังคมมาตั้งแต่ปี 2551 รวมเป็นระยะเวลากว่า 16ปี เพื่อร่วมปลูกจิตสำนึกคนไทยให้เห็นความสำคัญและกตัญญูต่อพระคุณครู
โดยได้สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพมากถึง 14 เรื่อง ในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งปีสำคัญ หลังผ่านวิกฤติโควิด-19 ก้าวสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านทั้งในมิติการดำเนินชีวิต และเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เซเว่น อีเลฟเว่น จึงได้จัดงาน รำลึกพระคุณครู เพื่อสะท้อนบริบทของหน้าที่ครูในปัจจุบัน ผ่านภาพยนตร์เรื่องใหม่ประจำปี 2567 เชิดชูจิตวิญญาณความเป็นครู
จิตวิญญาณความเป็นครู ต้องเห็นลูกศิษย์เป็นลูก นอกจากอบรมสั่งสอนคืออยากให้ลูกศิษย์เป็นคนดีต่อสังคม
"ปัจจุบันการศึกษาไทยกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Generative AI ที่มีการนำเรื่องของ AI (ปัญญาประดิษฐ์) และเทคโนโลยีต่างๆเข้าช่วยในการบริหารจัดการด้านการศึกษาในทุกๆ มิติ จนก่อให้เกิดความกังวลว่า ความสำคัญของครูจะลดน้อยถอยลงไปหรือไม่ ทำให้ในปีนี้มหลักของภาพยนตร์เชิดชูพระคุณครู มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ถึงจิตวิญญาณความเป็นครูที่ AI หรือเทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้ ภายใต้ชื่อภาพยนตร์ชุด "เชิดชูจิตวิญญาณความเป็นครู" ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของครูผู้สร้างในยุคของเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เพียงต้องก้าวให้ทันโลก แต่ต้องมุ่งสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับเยาวชนผู้ที่เปรียบเสมือนต้นกล้าให้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ พร้อมนำพาประเทศก้าวข้ามทุกการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
สะท้อนให้เห็นถึง AI เป็นปัญญาประดิษฐ์ แต่ครูคือผู้ประดิษฐ์ปัญญา"
โดยในช่วงเสวนา "อนาคตครูไทยในทศวรรษหน้า" ทาง ด้าน ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล กรรมการและรองเลขาธิการ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า จริงๆเราทำกิจกรรมมา 30 ปีแล้ว แต่ตั้งเป็นมูลนิธิปี 2558 แต่ส่วนมากของเราจะมุ่งเน้นโครงการในการพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อไปและให้เด็กเด็กได้มีโอกาสในระบบการศึกษา แต่มีประโยคหนึ่งที่สำคัญของมูลนิธิ “เทคโนโลยีไม่ได้มีไว้ทดแทนครู แต่ครูต้องพัฒนาทักษะให้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยี” มูลนิธิของเราจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของครูด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกัน
ในส่วนความสำคัญของ AI ต่อการศึกษาและการปรับตัวมีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทาง สิ่งที่เราทำตอนนี้ ดร.ชฎามาศ กล่าวว่า คือพยายามมุ่งเน้นในเรื่องของระบบการเรียนการสอนให้เด็กพัฒนาเท่าทันเทคโนโลยี และมุมมองสำคัญในเรื่องการศึกษาของเรา คือการให้โอกาสเด็กด้อยโอกาสให้เขาได้เรียนต่อ หรือถ้าเขาไม่ได้เรียนต่อ ก็ให้เขาได้นำความรู้ความสามารถที่มีไปประกอบอาชีพและพัฒนาตัวเองต่อไปได้
แต่ในปัจจุบัน AI มีทั้งคุณและโทษ ซึ่งคุณประโยชน์เราก็เห็นได้กันอยู่แล้ว แต่ว่าโทษก็จะเป็นเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเราจะสอนให้เด็กได้จัดการการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี
ด้าน ศ.ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ประธานมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน กล่าวเช่นกันว่า มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน เราพึ่งตั้งมา 6-7 ปีเท่านั้นเอง ตลอดชีวิตราชการของผมคือการร่วมผลักดันคุณภาพของวิชาชีพครูมาโดยตลอด อีกทั้งการบริหารระบบการศึกษา เพราะการศึกษาจะดีได้ต้องมีครูและนักเรียนที่ดี จุดมุ่งหมายสำคัญของมูลนิธิคือ ครูดีๆมีมากมายในแผ่นดิน ทำยังไงถึงจะทำให้ครูเหล่านั้นมีกำลังใจในการทำดีต่อไป ครูดีต้องเป็นครูที่เป็นที่รักของลูกศิษย์ ไม่ใช่แค่เป็นครูดีแต่ลูกศิษย์ไม่รัก
ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ลูกศิษย์ที่ด้อยโอกาสมีมากมาย เราต้องร่วมกันผลักดันให้เด็กมีความหวังในชีวิต แล้วชีวิตจะดีได้เอง เป็นคนดีเอง เพราะคนดีทุกคนจะต้องช่วยเหลือคนอื่นได้ เป็นที่พึ่งให้คนอื่นได้ เราจึงต้องช่วยผลักดันให้ครูที่ดีช่วยผลิตนักเรียนที่ดีออกมาและเป็นคนดีของสังคมต่อไป และเราจะทำให้ครูเป็นที่พึ่งของนักเรียนได้
เราจะไม่สอนให้เด็กทำงานให้ AI แต่จะสอนให้เด็กเอา AI มาทำงานให้เรา
นี่คือความคิดขั้นต้นของเรา จุดมุ่งหมายของเราคืออยากให้เด็กเป็นตัวชี้วัดสำคัญ เพราะครูดีของสังคมจะต้องสร้างเด็กที่ดีในสังคมได้ ดังนั้น นวัตกรรมของเรา คือเราอยากให้ครูดีมีส่วนร่วมในการสร้างเด็กดี ให้ครูนำเสนอวิธีการสร้างนวัตกรรม หรือกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างเด็กดีให้กับแผ่นดิน
รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เผยว่า เราต้องการติดอาวุธ 3 ด้านให้แก่นักศึกษา คือ
1.อาวุธทักษะฝีมือ
2.อาวุธพัฒนาปัญญา
3.อาวุธทางด้านจริยธรรม
เพราะเราต้องสร้างคนที่ดี เก่ง และกล้าในเวลาเดียวกัน ยิ่งในปัจจุบันนักศึกษาจะต้องรู้เท่าทันยุคเทคโนโลยีหรือว่า AI เพราะว่าในสมัยนี้มันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในด้านการเรียนการสอน นอกจากนักศึกษาจะต้องรู้เท่าทัน AI แล้ว สิ่งที่จำเป็นอย่างมากคือ ครูก็ต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อทำการสอนให้ควบคู่และเท่าทันนักศึกษาได้ เพราะสิ่งสำคัญของครูคือต้องสร้าง คนดี คนเก่ง และคนกล้าออกมาให้ได้ นี่เป็นสิ่งที่ปัญญาภิวัฒน์มุ่งเน้นและเน้นย้ำมาตลอด 16 ปี
ถ้าเราต้องการเป็นนายของ AI เราต้องสร้างคนให้มี communication skills มี human relationships ดังนั้น เราถึงให้เด็กทุกคณะเข้าฝึกงานในร้านเซเว่น เพราะคุณจะได้ฝึกเรื่องการพัฒนาการสื่อสาร เพราะเราไม่รู้ว่าวันนี้ต้องเจอลูกค้าแบบไหน แต่ถ้าผ่านเรื่องนี้ต่อไปได้มันจะทำให้คุณได้พัฒนาการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างคนให้เป็น Master ของ AI เป็น Master ของเทคโนโลยี ไม่ใช่เราต้องทำตาม AI
ซีพี ออลล์ และ เซเว่น อีเลฟเว่น ขอเชิญชวนคนไทยทุกคนรับชมภาพยนตร์ “เชิดชูจิตวิญญาณความเป็นครู” ผ่านทางเฟซบุ๊ค 7-Eleven Thailand พร้อมเชิญร่วมแชร์ภาพยนตร์ โดย 1 แชร์ มีค่าเท่ากับ 10 บาท ครบ 100,000 แชร์ ซีพี ออลล์ และ เซเว่น อีเลฟเว่น มอบ 1 ล้านบาท ให้กับมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ มูลนิธิครูดีของแผ่นดิน เพื่อนำไปสนับสนุนภารกิจของทางมูลนิธิฯ ตามปณิธาน "Giving & Sharing" ของซีพี ออลล์ ต่อไป