เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงเรื่องที่ว่า ความเข้าใจผิดของการมองว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้าในคนเป็นเรื่องไม่จำเป็นและฟุ่มเฟือย มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องดูตามสถานการณ์ขณะนั้น
1. ประเด็นสำคัญของการที่ต้องฉีดป้องกันล่วงหน้าคือถ้าในพื้นที่หรือในหมู่บ้าน อำเภอมีหมาชุมชน จรจัด เป็น 100 ตัว ที่เลี้ยงโดยให้วิ่งเล่นตามอิสระและ
2. ถ้ามีหมาบ้าเกิดขึ้นหนึ่งตัวในพื้นที่แสดงว่าหมาบ้าตัวนั้นต้องได้รับเชื้อจากตัวอื่นซึ่งตัวแรกที่เป็นซึ่งอาจตายไปแล้วและตัวที่พบ ได้แพร่เชื้อให้เพื่อนๆในบริเวณเดียวกันเรียบร้อยแล้ว
3. และแม้แต่เพื่อนจะไม่เกิดโรคทุกตัว โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดโรคครึ่งต่อครึ่ง และจะแสดงอาการไม่พร้อมกัน บางตัวอาจจะสองอาทิตย์ สองเดือนหกเดือนหรือแปดเดือน
4. ในกรณีที่มีการลงแขกฉีดวัคซีนให้สุนัขในพื้นที่แล้วก็ตามไม่ได้หมายความว่าหมาตัวที่เชื้อหลบเข้าไปในเส้นประสาทแล้ววัคซีนจะสามารถป้องกันได้
5. ทั้งนี้เชื่อไวรัสสามารถอยู่ในระบบประสาทและสมองโดยหมาไม่มีอาการได้ถึงหนึ่งหรือสองเดือนและวัคซีนไม่สามารถทำอะไรได้ หลังจากนั้นจึงค่อยแสดงอาการ
6. ทั้งนี้หมาแมวนั้นยังสามารถปล่อยเชื้อได้ถึง 10 วันก่อนหน้ามีอาการและเมื่อมีอาการแล้วและเกิดมีอาการดุร้ายจะยิ่งสามารถแพร่เชื้อได้กว้างขวางมากขึ้น
7. ในพื้นที่ที่พบหมาหรือแมวบ้าและโดยเฉพาะที่พื้นที่นั้นมีหมาแมวชุมชนที่วิ่งเล่นไปมาและประชาชนสามารถสัมผัสกับหมาแมวเหล่านี้ได้อยู่ตลอดเวลาทุกวันจะเป็นถูกกัดข่วน หยอกล้อคนๆนั้น จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าได้รับเชื้อไปหรือไม่
ดังนั้นการฉีดป้องกันล่วงหน้าถือเป็นเรื่องสำคัญ
การฉีดป้องกันล่วงหน้าเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยก็ต่อเมื่อในพื้นที่ดังกล่าวมิได้มีหมาชุมชน หมาจรจัดและไม่มีหมาบ้าเลย
คณะของเราได้ทำการประเมินการฉีดป้องกันล่วงหน้าว่าจะเป็นการฟุ่มเฟือยโดยต้องมีปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง และลงในคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกปี 2010
แต่ในกรณีทีประเทศไทยเผชิญอยู่นี้จะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่ได้เรียนให้ทราบข้างต้น
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews