ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13 อายุ150ล้านปี

26 กรกฎาคม 2566

เปิดตัวไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ตัวที่ 13 ของประเทศไทย “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” (Minimocursor phunoiensis) อายุ150 ล้านปี

   26 ก.ค.66 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยสารคาม ได้มีการจัดแถลงข่าวผลการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซอส”  ถือเป็นไดโนสาร์สายพันธุ์ไทยตัวแรกของจังหวัดกาฬสินธุ์

ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13  อายุ150ล้านปี

ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13  อายุ150ล้านปี


   นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ โฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ผลการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ตัวที่  13 ของไทยและเป็นสายพันธ์ของโลก มีชื่อว่า “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซอส” ถูกค้นพบที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย จังหวัดกาฬสินธ์ุ ตั้งแต่ช่วงปี 2555 เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก สูงประมาณ 60 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มกระดูกเชิงกรานแบบนก พบในหมวดหินภูกระดึง ยุคจูแรสสิกตอนปลาย มีอายุประมาณ 150 ล้านปี

ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13  อายุ150ล้านปี
 


   นอกจากนี้แล้วในบริเวณแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย ยังมีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิดกว่า 5,000 ชิ้น รวมทั้งไดโนเสาร์ทั้งสายพันธุ์กินพืช-กินเนื้อ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ถึง 8 สายพันธุ์ ทำให้ภูน้อยได้รับการขนานนามว่าเป็น “จูแรสซิกพาร์ค เมืองไทย” ที่มีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยตัวที่ 13  อายุ150ล้านปี

สำหรับความหมายของ “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” มินิโมในภาษาละตินแปลว่า ขนาดเล็ก เคอร์เซอร์ในภาษาละตินแปลว่า รวดเร็วหรือว่องไว เอนซิสในภาษาละตินแปลว่า พบที่หรือมาจาก ทำให้ มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส มีชื่อตามความหมายภาษาไทยคือ "นักวิ่งตัวจิ๋วแห่งภูน้อย"