"อ.เจษฎ์" แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

10 พฤศจิกายน 2566

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ "อ.เจษฎ์" ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

  เทศกาลลอยกระทง มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ซึ่งเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ตามความเชื่อของคนไทยในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา หรือเพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนา
 

\"อ.เจษฎ์\" แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ล่าสุด  "อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โดยได้เปิดเผยว่า 

 

 จะเห็นว่าในอดีตผ่านมา เราไปลอยกระทงตามความเชื่อ อย่างเช่น ไปขอขมาพระแม่คงคา ก็ตาม แต่ก็จะเห็นว่า มีขยะจากกระทงเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระทงโฟม กระทงหยวกกล้วย กระทงขนมปัง พวกนี้มันจะเกิดเป็นขยะได้ทั้งนั้นเลย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ก็จะเก็บขยะขึ้นมาเป็นปริมาณมาก ถ้าเก็บไม่หมดก็จะกลายเป็น ขยะที่ปนอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางครั้งก็จะมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แม่น้ำลำคลอง สัตว์น้ำ ค่อนข้างที่จะขัดแย้งกับความเชื่อ ที่ว่า ขอขามพระแม่คงคา 

 

ในช่วงปีที่ผ่านมา 2565 กระทงก็มีเพิ่มขึ้นด้วย ก็น่าจะเป็นไปได้ว่า อาจจะพอหมดช่วงของการเก็บตัวเรื่องของโควิดเศรษฐกิจ การค้าต่าง ๆ กลับมา บรรยากาศการลอยกระทงก็มากขึ้นด้วย ในปีนี้ก็น่าจะเป็นประเด็น กระทงก็อาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ 

 

\"อ.เจษฎ์\" แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 

สิ่งที่ทำได้คือว่า เราคงไม่ใช่ว่าเลิกเทศกาลลอยกระทงไปเลย แต่ว่าหาทางจัดกิจกรรมที่มันไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก เช่น ลด ละ เลิก ก็คือว่า 

 

  •  การลด  พยายามลดจำนวนของกระทงลงไป ใครที่เคยลอย กระทง 1 คน ต่อ 1 ใบ ก็ควรแบ่งกระทง เป็นคู่ เป็นครอบครัว เป็นหมู่บ้าน ต่อ 1 ใบ ก็ยังได้

 

  •  การละ นั่นก็คือ ละการใช้กระทงที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ของคนเองบางที ใช้กระทงที่เป็นหยวกกล้วย หรือ วัตถุที่เป็นธรรมชาติก็ตาม แต่ถ้าเก็บไม่หมด ก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ขนมปัง ก็ค่อนข้าวชัดเจนว่า ทำให้เกิดปัญหากับเรื่องสิ่งแวดล้อมได้มากทีเดียว ปลากินไม่หมดก็จะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ แล้วก็ทำให้น้ำเน่าเสียได้ หรืออาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้กระทงอย่างอื่น เช่น กระทงน้ำแข็ง หรือ กระทงเทียน ที่ใช้แล้วสามารถเก็บขึ้นมาเพื่อหล่อเป็นเทียนใหม่

 

  •  การเลิก  จุดที่เลิกนั้นไม่ได้หมายความว่า เลิกเทศกาลลอยกระทงไปเลย จะเป็นการเลิกในส่วนของการ ลอยตัวกระทง อย่างเช่น ลอยกระทงออนไลน์ แล้วก็ไปมีความสุขในกิจกรรม งานเทศกาลในส่วน งานลอยกระทง นั่นเอง 

 

\"อ.เจษฎ์\" แนะ 3 วิธี ลด ละ เลิก! ลอยกระทงยังไงให้กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด