กทม. เตือนค่าฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดวันนี้ เกินมาตรฐานถึง 68 พื้นที่
วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เมื่อเวลา 15.00 น. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสรุปผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ณ ช่วงเวลา 12.00-14.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ว่า ตรวจวัดได้ 35.4-78.6 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 50.2 มคก./ลบ.ม. โดยค่า PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐาน จำนวน 68 พื้นที่ และอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 1 พื้นที่คือ 1.เขตหนองแขม
ระดับสีส้ม มีจำนวน 67 พื้นที่คือ 2.เขตราชเทวี 3.เขตสัมพันธวงศ์ 4.เขตพญาไท 5.เขตวังทองหลาง 6.เขตบางรัก 7.เขตบางคอแหลม 8.เขตยานนาวา 9.เขตจตุจักร 10.เขตบางกะปิ 11.เขตลาดกระบัง 12.เขตธนบุรี 13.เขตคลองสาน 14.เขตบางกอกน้อย 15.เขตภาษีเจริญ 16.เขตบางเขน 17.เขตบางพลัด 18.เขตบางขุนเทียน 19.เขตพระนคร 20.เขตสาทร21.เขตคลองเตย 22.เขตบางซื่อ 23.เขตหลักสี่ 24.เขตบึงกุ่ม 25.เขตสวนหลวง 26.เขตลาดพร้าว 27.เขตคลองสามวา 28.เขตสายไหม 29.เขตห้วยขวาง 30.เขตสะพานสูง 31.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 32.เขตบางแค 33.เขตจอมทอง 34.เขตดอนเมือง 35.เขตดินแดง 36.เขตพระโขนง 37.เขตราษฎร์บูรณะ 38.เขตบางกอกใหญ่ 39.เขตตลิ่งชัน 40.เขตทวีวัฒนา
41.เขตดุสิต 42.เขตบางบอน 43.เขตทุ่งครุ 44.เขตวัฒนา 45.เขตบางนา 46.เขตคันนายาว 47.เขตมีนบุรี 48.เขตหนองจอก 49.เขตประเวศ 50.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร
51.สวนจตุจักร เขตจตุจักร 52.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ 53.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง 54.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 55.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 56.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 57.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย 58.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร 59.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย 60.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
61.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 62.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา 63.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง 64.สวนหนองจอก เขตหนองจอก 65.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน 66.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม 67.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี 68.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด
วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5
- สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ หน้ากาก N95 ซึ่งมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัย และบางคนอาจสวมแล้วอาจให้ความรู้สึกอึดอัด เพราะหายใจได้ลำบากกว่าปกติ
- หากไม่ใช้หน้ากาก N95 อาจใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์รองรับ 3 ชั้น หรือถ้าหากหาไม่ได้จริงๆ อาจใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้
-พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิดเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากจำเป็นต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองเมื่ออยู่ข้างนอกอาคาร
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM2.5 เสมอไป โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
อันตรายจาก ฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น
“ทุกคนทุกวัยมีความเสี่ยงต่อฝุ่น PM 2.5 ดังนั้น ควรป้องกันการรับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายกันทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี”
เพราะฉะนั้น ช่วงนี้จะออกนอกบ้านหรือว่าออกไปทำงานหรือทำธุระต่างๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพ เช่น N95 หากไม่มีอาจใช้หน้ากากอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น แต่การสวมใส่หน้ากาก ควรสวมใส่อย่างถูกต้อง คือ ควรสวมใส่ปิดให้แนบสนิทกับใบหน้าทุกส่วน และสิ่งที่เพิ่มเติมในบ้านเลยคือ เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองที่มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น PM 2.5 ในกรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ ก็ควรเปิดพัดลมร่วมกับเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยปิดห้องให้มิดชิดไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้อง” เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณ ปลอดภัยจาก เจ้าฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้อย่างแน่นอนครับ