ชมภาพ "ค่างแว่นถิ่นใต้" อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

16 สิงหาคม 2566

"ค่างแว่นถิ่นใต้" อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ เก็บภาพค่างแว่นถิ่นใต้ได้ครั้งแรก หลังเคยได้ยินแค่เสียงเท่านั้น

อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ บันทึกภาพค่างแว่นถิ่นใต้ในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการบันทึกภาพได้เป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้ได้ยินแค่เสียง ถือเป็นความโชคดีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

ค่างแว่นถิ่นใต้ (Dusky Langur, Spectacled Langur) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trachypithecus obscurus)

สิ่งที่น่าสนใจ : โดยทั่วไปค่างแว่นถิ่นใต้ มีสีตามตัวเป็นสีเทา มือ เท้าดำ หน้าสีเทาเข้มหรือเทาดำ บริเวณรอบดวงตาเป็นวงสีขาว คล้ายกับใส่แว่น

ชมภาพ "ค่างแว่นถิ่นใต้" อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

ถิ่นอาศัย : ค่างแว่นถิ่นใต้หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “ค่างแว่น” พบในพม่า ไทย มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบทางภาคใต้

อาหาร : ค่างแว่นชอบกินใบไม้มากกว่าผลไม้ และกินแมลงด้วย

พฤติกรรม : ค่างแว่นพบอยู่ตามป่าทั่วไป จากป่าสูงบนภูเขาจนถึงป่าตามชายทะเล ค่างแว่นเป็นสัตว์ไม่ชอบให้คนพบเห็น มักวิ่งหนีไปตามต้นไม้เมื่อเห็นคน และมักไปแอบอยู่หลังต้นไม้เพื่อแอบดูผู้บุกรุก

ชมภาพ "ค่างแว่นถิ่นใต้" อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ : ค่างแว่นผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3–4 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดประมาณ 3 สัปดาห์ และระยะตั้งท้องประมาณ 140–150 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

ชมภาพ "ค่างแว่นถิ่นใต้" อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ Khaolak-Lamru National Park