"บิ๊กตู่" เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมาตรการรับนทท.

24 กันยายน 2564

รอลุ้น 27 ก.ย. นี้ "บิ๊กตู่" เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมถกมาตราเตรียมรับนักท่องเที่ยว

สืบเนื่องจากที่ก่อนหน้านี้ ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เห็นชอบการยกร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ. .... หรือ พ.ร.ก.คุมโรคฯ แทนการใช้ ซึ่งจะไม่ขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2564 ส่งผลให้เป็น ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปโดยอัตโนมัติ

บิ๊กตู่ เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ล่าสุดมีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้เตรียมประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด หรือ ศบค.ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณาขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 2 เดือน พร้อมทั้งพิจารณาเลื่อนเปิด 5 จังหวัดท่องเที่ยว อีกทั้งยังอนุญาตผ่อนคลายกิจกรรม/กิจการ 10 ประเภท และลดเวลากักตัวนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว 7 วัน

ตามรายงานระบุว่า ในการประชุม ศบค. ในวันที่ 27 กันยายนนี้ เตรียมพิจารณา ขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 2 เดือน รวมถึงเสนอเลื่อนการเปิดพื้นที่ Sandbox เป็นพื้นที่นำร่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัด จากเดิมวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564

บิ๊กตู่ เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

พร้อมกันนี้จะเสนอให้ผ่อนคลายกิจกรรมการการที่ถูกสั่งปิดเพิ่มขึ้น 10 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัยก่อนเรียน 
2. ห้องสมุดสาธารณะ/เอกชน/ชุมชน 
3. พิพิธภัณฑ์/แหล่งประวัติศาสตร์/โบราณสถาน 
4. ศูนย์การเรียนรู้/ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม/หอศิลป์ 
5. กีฬาในร่ม ในห้องที่มีระบบปรับอากาศ ฟิตเนส  
6. ร้านทำเล็บ 
7.ร้านสัก 
8. ร้านนวด สปา เพื่อสุขภาพ 
9. ธุรกิจโรงภาพยนตร์/ฉายภาพยนตร์
10. การเล่นดนตรีในร้านอาหาร ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุง ระบบหมุนเวียนอากาศ จัดสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการ COVID-Free Setting ก่อนเปิดทำการ 

 

- "อนุทิน ชาญวีรกูล"ลั่น พ.ร.ก.ควบคุมโรคฯ มีอำนาจเทียบเท่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- ครม.ไฟเขียว ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-ยุบ ศบค.
- ประยุทธ์ จ่อยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยุบ ศบค.กลับไปใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ

บิ๊กตู่ เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ขณะเดียวกัน ด้าน ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า สถานที่กลุ่มกีฬากลางแจ้ง ที่ร่มโล่งอากาศถ่ายเทสะดวก การซ้อมของนักกีฬาทีมชาติไทยทุกประเภท และร้านสะดวกซื้อ ตลาดสด ตลาดนัด (เฉพาะที่จำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภค) ขยายเวลาเปิดให้บริการไม่เกินเวลา 21.00

พร้อมกันนี้ ยังมีการพิจารณาให้ปรับเวลาออกนอกเคหะสถานหรือเคอร์ฟิว เป็นเวลา 22.00 น.ถึง เวลา 04.00 น. อีกทั้งยังปรับลดระยะเวลาในการกักกันการทำกิจกรรมในสถานที่กักกัน เริ่ม 1 ต.ค.64 กล่าวคือ ผู้ที่เข้าราชอาณาจักรทุกช่องทาง เป็นผู้ที่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์อย่างน้อย 14 วัน กักตัวอย่างน้อย 7 วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR  2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 0 - 1 ครั้งสอง วันที่ 6 - 7

ส่วนผู้เข้าราชอาณาจักรช่องทางอากาศ ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน จะต้องกักตัวอย่างน้อย 10 วัน และต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก วันที่ 0 - 1 ครั้งสอง วันที่ 8 - 9  รวมถึงผู้ที่เข้าราชอาณาจักรช่องทางบก ไม่มีเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ต้องกักตัวอย่างน้อย 14 วัน และตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 0 - 1 ครั้งสองวันที่ 12 - 13

สำหรับการเข้าพักที่โรงแรมกักตัวทางเลือกหรือ Alternative Quarantine (AQ) ทางศบค.จะมีการพิจารณาให้อนุญาตออกกำลังกายกลางแจ้ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน สั่งซื้อสินค้า อาหารจากภายนอก ประชุมสำหรับนักธุรกิจระยะสั้นได้

บิ๊กตู่ เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ด้านสถานกักกันของรัฐ หรือ State Quarantine (SQ)  และ การกักกันผู้เดินทางในสถานที่เอกเทศ ซึ่งดำเนินการโดยองค์กร หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือ Organizational Quarantine (OQ)  อนุญาตออกกำลังกายกลางแจ้ง สั่งซื้อสินค้า อาหารจากภายนอก

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังจะพิจารณาแนวทางการเปิดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวพื้นที่สีฟ้า ซึ่งมีรูปแบบการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะและความพร้อมของพื้นที่สีฟ้า คือการจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้งจังหวัด 

บิ๊กตู่ เรียกประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เล็งขยายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

โดยการจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้ง อำเภอ ตำบล หรือหมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับความพร้อม การจัดพื้นที่ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ เฉพาะสถานที่/พื้นที่ หรือระหว่างสถานที่/ระหว่างสถานที่/พื้นที่โดยมีการเดินทางแบบควบคุม Sealed Route ในรูปแบบ Bubble and Seal

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการต้องตอบโจทย์เรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมโรคอย่างเหมาะสม โดยต้องมีแผนเตรียมการและทรัพยากรรองรับสถานการณ์ ทางด้านการจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันการแพร่ระบาดรวมทั้งสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews