ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 คืออะไร กัมมันตรังสีอันตราย มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี

21 มีนาคม 2566

ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 กัมมันตรังสีอันตราย ที่สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน นิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 คืออะไร กัมมันตรังสีอันตราย มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี

ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 คืออะไร กัมมันตรังสีอันตราย มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี

จากกรณีล่าสุดที่ประชาชนจับตามองอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับประเด็นที่ ซีเซียม-137 ที่สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน นิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ก่อนมาพบที่โรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรีและพบอีกว่า ซีเซียม-137 ถูกบดและหลอมไปแล้ว 

ซีเซียม-137 คืออะไร ซีเซียม-137 หรือ Caesium-137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมาที่มีพลังงานสูงพอสมควร มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ใช้ปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี รวมถึงใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา

ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 คืออะไร กัมมันตรังสีอันตราย มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี

อันตรายทางรังสีของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137

การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเชียม-137 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่ส่ง ผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันทีแต่อย่างใดแต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเกิดโรคมะเร็งได้ในกรณีหากได้รับปริมาณรังสีต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ผิวหนังแสบร้อนและมีผื่นแดงคล้ายน้ำร้อนลวกหรือโดนไฟไหม้ หรืออาจมีอาการคลื่นเหียนอาเจียนได้ถ้าหากได้รับปริมาณรังสีที่สูงมากพอ
 

ซีเชียม-137 มีลักษณะเป็นของแข็ง สภาพคล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายและเปื้อนได้ง่ายหากแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ ดังนั้น ผู้ที่สัมผัสกับผงซีเชียม-137 นั้น อาจได้รับซีเชียม-137 เข้าไปในร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือการหายใจ และรับประทานผงซีเซียม-137 เข้าไป เมื่อซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน (SOFT TISSUE) ของอวัยวะต่างๆ และแผ่รังสีให้แก่อวัยวะเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของอวัยวะที่ซีเซียม-137 นั้นเข้าไปสะสมอยู่
 

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี

  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง ถ่ายเหลว
  • อ่อนเพลีย ขาดน้ำ
  • ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสรังสีเกิดการอักเสบ แดง ไหม้ มีการหลุดลอก เกิดเป็นแผล ผิวหนังตาย
  • ผมและขนหลุดร่วง ปากเปื่อย
  • อาการจากไขกระดูกถูกกด ทำให้เป็นไข้ ติดเชื้อแทรกซ้อน มีเลือดออกง่าย
  • ซึม สับสน ชัก โคม่า

ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส

  1. ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาดล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ และควรเก็บเสื้อผ้า

ใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

2. ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี

3. ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไรให้เป็นพื้นที่อันตราย

ทำความรู้จัก ซีเซียม-137 คืออะไร กัมมันตรังสีอันตราย มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี